Page 209

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

189 บทที่ 22 คดีนิติวิทยาศาสตร์โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ คดีที่ 5: การวินิจฉัยว่าชิ้นไม้ของกลาง 142 ชิ้น ว่ามาจากต้นใดต้นหนึ่งของไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) ที่ถูกลักลอบตัดหรือไม่ คำนำ ตามหนังสือสถานีตำรวจภูธรบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ที่ ตช.0018(ชย)(16)/1936 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2558 เรื่อง ขอทราบผลการตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบเนื้อเยื่อชิ้นไม้ของกลาง การพิสูจน์ตัวอย่าง ชิ้นไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) ของกลางที่เก็บรวบรวมได้จากบริเวณเถียงนาท้องที่ตำบล สระพัง อำเภอ บ้านแท่น จังหวัด ชัยภูมิ จำนวน 142 ชิ้น ดังแสดงในภาพ 22.1 โดยการวิเคราะห์ผลทางดีเอ็นเอ เปรียบเทียบว่าเศษชิ้นไม้ของกลางดังกล่าวว่า เป็นต้นเดียวกับตอของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ซึ่งถูก ลักลอบตัดจากอุทยานแห่งชาติน้ำพอง จ.ขอนแก่น ที่ปรากฏในบริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนได้รับ มอบหมายตามสายงานให้ตรวจพิสูจน์พันธุกรรมไม้ของกลางดังกล่าว วิธีการวินิจฉัยพันธุกรรม ได้มีการสกัดดีเอ็นเอจากชิ้นไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) ของกลางจำนวน 142 ชิ้น (ภาพที่ 22.1) เนื้อไม้จากตอที่ถูกลักลอบตัดจำนวน 3 ตอ และใบของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จาก อุทยานแห่งชาติน้ำพอง จ.ขอนแก่นจำนวน 15 ต้น สกัดดีเอ็นเอใช้ตามวิธีที่ประยุกต์มาจากวิธีการสกัดของ Doyle and Doyle (1990) และ Changtragoon et al. (1996a) แล้วนำมาละลายใน 1X TE buffer (10 mM Tris–HCl, 1 mM EDTA, pH 8.0) 50-100 ไมโครลิตรเก็บสารละลายดีเอ็นเอไว้ที่ตู้ –20 องศาเซลเซียส วัดคุณภาพและปริมาณของสารละลายดีเอ็นเอด้วยวิธีอะกาโรสเจลอีเล็กโตรโฟริซีส ( agarose gel electrophoresis) โดยใช้อะกาโรสเจลที่มีความเข้มข้น 0.8% และนำแผ่นเจลไปส่องดูภายใต้แสงอัตราไวโอเลต เปรียบเทียบความเข้มข้นกับดีเอ็นเอมาตรฐานขนาด 1 kb แล้วบันทึกภาพ แล้วนำดีเอ็นเอที่สกัดได้มาเพิ่ม ปริมาณยีนด้วยไพรเมอร์การวิเคราะห์ดีเอ็นเอโดยเทคนิคไมโครแซทเทลไลท์เพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ในชิ้น ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ของกลางเปรียบเทียบกับเนื้อไม้จาก 3 ตอ นำสารละลายดีเอ็นเอที่เจือจางให้มีความเข้มข้น 50 นาโนกรัมต่อไมโครลิตร มาวิเคราะห์โดยเครื่องหมาย ดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์ (microsatellite markers) 9 เครื่องหมายดีเอ็นเอ โดยใช้ Taq DNA polymerase (Qiagen, Germany) นำสารละลายทั้งหมดเข้าเครื่องเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอ โดยใช้โปรแกรมดังนี้ 94 องศาเซลเซียส 3 นาที 94 องศาเซลเซียส 30 วินาที ที่อุณหภูมิ 50 หรือ 55 หรือ 60 องศาเซลเซียส ตามอุณหภูมิ ของ annealing ของไพรเมอร์ 30 วินาที และ 72 องศาเซลเซียส 1 วินาที จำนวน 35 รอบ วิเคราะห์โดยวิธีการติดสี ฟลูออเรสเซ็น หลังจากนั้นวิเคราะห์จำนวนอัลลีลเฉลี่ยต่อตำแหน่ง (number of allele per locus, N) และ


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above