Page 210

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

190 วิเคราะห์ลักษณะพันธุกรรมของแต่ละตัวอย่าง การจัดแผนผังความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยใช้โปรแกรม POPGENE version 1.31 (Yeh et al., 1999) และ TFPGA version 1.3 (Miller, 1997) ภาพที่ 22.1 ตัวอย่างชิ้นไม้พะยูงที่ใช้ในการพิสูจน์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ผลการศึกษาวินิจฉัยพันธุกรรม ผลการพิสูจน์ตัวอย่างไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ของกลาง โดยการวิเคราะห์ผลทางดีเอ็นเอ เปรียบเทียบว่าเศษชิ้นไม้ของกลางดังกล่าวว่า เป็นต้นเดียวกับตอที่ปรากฏในบริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่ จากการวิเคราะห์ผลทางดีเอ็นชิ้นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ของกลางจำนวน 142 ชิ้น มีตัวอย่าง ชิ้นไม้ที่สามารถสกัดดีเอ็นเอและทำการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอใน 1-9 เครื่องหมายดีเอ็นเอได้มี 64 ตัวอย่าง และเมื่อนำตัวอย่างชิ้นไม้ทั้ง 64 ตัวอย่างมาทำการเปรียบเทียบลักษณะทางพันธุกรรมกับตัวอย่างตอไม้ 3 ตอที่อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุพบว่า 1. จากการศึกษาในเครื่องหมายดีเอ็น 9 เครื่องหมายมี 5 เครื่องหมายดีเอ็นเอที่สามารถแยกตอไม้ทั้ง 3 ตอออกจากกันได้ 2. มีตัวอย่างชิ้นไม้ 2 ตัวอย่างคือ ตัวอย่างชิ้นไม้เลขที่ 29 และ 30 มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ เหมือนกับตัวอย่างตอไม้ที่ 1 (ตารางที่ 22.1 และ ภาพที่ 22.1) 3. ตัวอย่างชิ้นไม้ 61 ตัวอย่าง มีลักษณะทางพันธุกรรมไม่เหมือนตอไม้ทั้ง 3 ตอ คือชิ้นไม้หมายเลข 3, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 24, 25, 27, 31, 32, 33, 34, 35, 39, 40, 41, 42, 47, 48, 51, 53, 54, 55, 57, 60, 61, 62, 63, 64, 65, 66, 67, 71, 72, 73, 74, 75, 76, 77, 78,79, 81, 84, 90, 91, 92, 103, 131, 133, 134, 137, 138, 140 4. มีตัวอย่างชิ้นไม้ 3 ตัวอย่างที่มีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้ชิดกับตอไม้ที่ 1 คือ ตัวอย่างชิ้นไม้ หมายเลข 43, 49, 36 และ93 (ตารางที่ 22.1 และ ภาพที่ 22.1)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above