194 บทที่ 23 คดีนิติวิทยาศาสตร์โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ คดีที่ 6: กิ่งไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) ของต้นพะยูงต้องสงสัยมีพันธุกรรมตรงกับราก กิ่งที่งอกของ ไม้พะยูงที่คาดว่าถูกลักลอบล้อมต้นไปปลูกอีกที่หรือไม่ คำนำ ได้มีการประสานขอความร่วมมือจากสถานีตำรวจในต่างจังหวัดโดยให้มีการส่งของกลางตรวจ พิสูจน์ ไม้ของกลางจากตัวอย่างไม้ของกลาง 4 รายการ รายการที่ 1. กิ่งไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) ที่เก็บจากต้นพะยูง (D. cochinchinensis) ต้อง สงสัยที่พบปลูกอยู่ในบริเวณพื้นที่ของผู้ต้องหา จำนวน 6 ท่อน/ชิ้น (1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 1.6) รายการที่ 2. เนื้อไม้ส่วนลำต้นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ต้องสงสัยที่พบปลูกอยู่ในพื้นที่ของ ผู้ต้องหาจำนวน 1 ชิ้น รายการที่ 3. รากของต้นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่ถูกลักไป ที่ถูกตัดเหลืออยู่ที่หลุมดินที่ เกิดเหตุจำนวน 1 ท่อน/ชิ้น รายการที่ 4. กิ่งไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่งอกเกิดจากรากของต้นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่ถูกตัดไปส่วนที่เหลืออยู่ที่หลุมดินที่เกิดเหตุจำนวน 10 กิ่ง เพื่อตรวจพิสูจน์ว่า 1. วัตถุพยานรายการที่ 1, ที่ 2, ที่ 3 และ 4 เป็นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) หรือไม่ 2. วัตถุพยานรายการที่ 1 และ 2 ที่พบและเก็บจากต้นพะยูง (D. cochinchinensis) ต้องสงสัยมี ลักษณะทางพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ตรงกันกับวัตถุพยานรายการที่ 3 และ ที่ 4 ที่เก็บจากบริเวณหลุมดินใน บริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นส่วนของราก และกิ่งไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่เกิดงอกจากส่วนรากของต้น ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ต้นที่ถูกลักขุดยกเอาไปหรือไม่ จึงได้ทำการส่งวัตถุพยานมาให้กรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเพื่อตรวจหารหัสพันธุกรรม ซึ่งผู้เขียนได้รับมอบหมายตามสายงานให้ตรวจ พิสูจน์พันธุกรรมชิ้นส่วนไม้ของกลางดังกล่าว วิธีการวินิจฉัยพันธุกรรม 1. ตรวจสอบวัตถุพยานรายการที่ 1, 2, 3 และ 4 เป็นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) หรือไม่ โดยการถอดรหัสพันธุกรรม สกัด DNA จากตัวอย่างเนื้อไม้และใบด้วยชุดสกัด DNeasy Plant Kit (QIAGEN) แล้วนำดีเอ็นเอที่ สกัดได้มาเพิ่มปริมาณยีนด้วยไพรเมอร์ ซึ่งเป็นยีนในส่วนของคลอโรพลาสต์จีโนม คือ rbcL ในการวิเคราะห์ ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่ศึกษา จากหลักการของวิธี Chain termination method ใช้ชุด Big Dye Terminator v3.1 Cycle Sequencing Kit (Applied Biosystems, USA) โดยทำพีซีอาร์ซึ่งจะติดฉลากด้วย ฟลูออเรสเซนต์ จากนั้นนำ PCR product ที่ได้ ไป ทำให้บริสุทธิ์ และนำสารละลายที่ได้มาวิเคราะห์ลำดับ นิวคลีโอไทด์ โดยใช้เครื่องวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ ABI PRISM® 3100-Avant Genetic Analyzer
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above