Page 215

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

195 (Applied Biosystems, USA) แล้วจึงวิเคราะห์ผลลำดับนิวคลีโอไทด์โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของ ลำดับนิวคลีโอไทด์กับฐานข้อมูล 2. วัตถุพยานรายการที่ 1 และ 2 ที่พบและเก็บจากต้นพะยูง (D. cochinchinensis) ต้องสงสัยมี ลักษณะทางพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ตรงกันกับวัตถุพยานรายการที่ 3 และ ที่ 4 ที่เก็บจากบริเวณหลุมดินใน บริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นส่วนของราก และกิ่งไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่เกิดงอกจากส่วนรากของต้น ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ต้นที่ถูกลักขุดยกเอาไปหรือไม่ สกัดดีเอ็นเอจากชิ้นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ของกลางจำนวน 4 ชิ้น สกัดดีเอ็นเอใช้ตามวิธีที่ ประยุกต์มาจากวิธีการสกัดของ Doyle and Doyle (1990) และ Changtragoon et al. (1996a) แล้ว นำมาละลายใน 1X TE buffer (10 mM Tris–HCl, 1 mM EDTA, pH 8.0) 50-100 ไมโครลิตร เก็บสารละลายดีเอ็นเอ ไว้ที่ตู้ –20 องศาเซลเซียส วัดคุณภาพและปริมาณของสารละลายดีเอ็นเอด้วยวิธีอะกาโรสเจลอีเล็กโตรโฟริซีส (agarose gel electrophoresis) โดยใช้อะกาโรสเจลที่มีความเข้มข้น 0.8% และนำแผ่นเจลไปส่องดูภายใต้ แสงอัตราไวโอเลต เปรียบเทียบความเข้มข้นกับดีเอ็นเอมาตรฐานขนาด 1 kb แล้วบันทึกภาพ แล้วนำดีเอ็น เอที่สกัดได้มาเพิ่มปริมาณยีนด้วยไพรเมอร์ การวิเคราะห์ดีเอ็นเอโดยเทคนิคไมโครแซทเทลไลท์เพื่อพิสูจน์ เอกลักษณ์ในชิ้นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ของกลาง นำสารละลายดีเอ็นเอที่เจือจางให้มีความเข้มข้น 50 นาโนกรัมต่อไมโครลิตร มาวิเคราะห์โดย เครื่องหมาย ดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์ (microsatellite markers) 12 เครื่องหมายดีเอ็นเอ โดยใช้ Taq DNA polymerase (Qiagen, Germany) นำสารละลายทั้งหมดเข้าเครื่องเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอ โดย ใช้โปรแกรมดังนี้ 94 องศาเซลเซียส 3 นาที 94 องศาเซลเซียส 30 วินาที ที่อุณหภูมิ 50 หรือ 55 หรือ 60 องศาเซลเซียส ตามอุณหภูมิของ annealing ของไพรเมอร์ 30 วินาที และ 72 องศาเซลเซียส 1 วินาที จำนวน 35 รอบ วิเคราะห์โดยวิธีการติดสีฟลูออเรสเซ็น หลังจากนั้นวิเคราะห์จำนวนอัลลีลเฉลี่ยต่อตำแหน่ง (number of allele per locus, N) และวิเคราะห์ลักษณะพันธุกรรมของแต่ละตัวอย่าง การจัดแผนผัง ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยใช้โปรแกรม POPGENE version 1.31 (Yeh et al.,1999) และ TFPGA version 1.3 (Miller, 1997) ผลการวินิจฉัยพันธุกรรม 1. ผลการพิสูจน์วัตถุพยานรายการที่ 1, 2, 3 และ 4 ว่าเป็นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) หรือไม่ โดยการถอดรหัสพันธุกรรมยีนในส่วนของคลอโรพลาสต์จีโนม คือ rbcL ขนาด 520 bp แล้วจึงวิเคราะห์ผล ลำดับนิวคลีโอไทด์ โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ของพืชแต่ละชนิดโดยผ่าน โปรแกรม Bioedit และ Mega 6 ผลการศึกษาพบว่าวัตถุพยานทั้ง 4 รายการเป็นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ดังภาพที่ 23.1 2. ผลการพิสูจน์วัตถุพยานรายการที่ 1 และ 2 ที่พบและเก็บจากต้นพะยูง (D. cochinchinensis) ต้องสงสัยมีลักษณะทางพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ตรงกันกับวัตถุพยานรายการที่ 3 และ ที่ 4 ที่เก็บจากบริเวณ หลุมดินในบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นส่วนของราก และกิ่งไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่เกิดงอกจากส่วนราก


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above