Page 22

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

2 2536ก) ส่วนการศึกษาพันธุกรรมไม้ป่าโดยใช้ เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA markers) สามารถศึกษาได้กว้างขวางขึ้น ทั้งใน Nucleus genome และ Cytoplasmic genome (Chloroplast และ Mitochondrial genome) ซึ่งมีระบบ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ใน Nucleus genome จะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากทั้ง พ่อและแม่ ส่วนใน Chloroplast และ Mitochrondrial genome จะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมไม่จากพ่อก็จาก แม่ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ไม้ (Szmidt et al., 1987) ซึ่งจะเห็นว่าการศึกษาที่ได้จาก Molecular genetic markers ดังกล่าวสามารถทำการศึกษาพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ ตั้งแต่ระดับต้น (Clone) จนถึงระดับประชากรทั้งภายในและ ระหว่างหมู่ไม้และชนิดพันธุ์ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำมาประยุกต์ทั้งด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์ไม้ ป่าได้นอกจากนี้ยังใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่าและสามารถประหยัดงบประมาณและแรงงานและมีความถูกต้องและแม่นยำ สูงกว่าการศึกษาวิจัยแบบดั้งเดิม การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลทางพันธุกรรม (Molecular genetic markers) การประยุกต์ใช้เครื่องหมายโมเลกุลทางพันธุกรรม (Molecular genetic markers) โดยใช้ Electrophoresis สามารถนำมาศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในและระหว่างประชากร ตลอดจนระบบการสืบพันธุ์ของพันธุ์ไม้ แต่ละชนิดได้ เครื่องหมายโมเลกุล (Molecular genetic markers) ดังกล่าวมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด กล่าวคือไอโซ เอนไซม์ (Isoenzyme) เป็นเครื่องหมายโมเลกุลที่แสดงลักษณะข่มคู่ (Codominant markers) ที่ถูกนำมาในการศึกษา ด้านพันธุศาสตร์ป่าไม้ตั้งแต่ช่วงต้นของปี ค.ศ. 1970 ในปัจจุบันเครื่องหมายโมเลกุล (Markers) นี้ มีผู้นิยมน้อยลงแต่ก็ มีความเหมาะสำหรับศึกษาระบบการสืบพันธุ์ (Mating system) และศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ ชนิดต่างๆ ต่อมา (DNA markers) ได้ถูกพัฒนาขึ้น ในช่วงปี ค.ศ. 1990 เทคนิคใหม่ๆ ได้ถูกพัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้ เช่น PCR (Polymerase Chain Reaction) based markers เช่น RAPD (Randomly Amplified Polymorphic DNA), AFLP’s (Amplified Fragment Length Polymorphisms), PCR-SSR (Simple Sequence Repeat หรือ Microsattellites), PCR-SSCP (Single Stranded Confirmation Polymorphisms), PCR-RELP’s และการถอดรหัส พันธุกรรม (DNA sequencing) โดยตรงจาก PCR products ในปัจจุบันเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA markers) เช่น Microsatellites และ AFLP’s ได้ถูกนำมาศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ป่าอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพราะว่า สามารถศึกษา Polymorphic loci มากกว่า Isoenzymes (Changtragoon, 1998; Szmidt, 1995) การศึกษาวิจัยโดยเครื่องหมายโมเลกุลทางพันธุกรรม (Molecular genetic markers) แต่ละชนิดตาม วัตถุประสงค์ที่ศึกษาในพันธุ์ไม้หลายชนิด ได้สรุปไว้พอสังเขปในตารางที่ 1.1 ส่วนการศึกษาความหลากหลายทาง พันธุกรรมของพันธุ์พืชและไม้ในประเทศเขตร้อนได้สรุปพอสังเขปตามภูมิภาคเอเชียได้แสดงในตารางที่1.2 และจากผล การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ป่าเขตอบอุ่นและไม้ป่าเขตร้อนพบว่า ความหลากหลายทางพันธุกรรม ของไม้ป่าเขตร้อนมีค่าสูงกว่ามาก กล่าวคือไม้เขตร้อนมีความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากร (Genetic differentiation among populations) 0.109 (10.9%) (Hamrick et al., 1992) ส่วนไม้เขตอบอุ่นมีค่าความแตกต่างทาง พันธุกรรมระหว่างประชากรเพียง 0.38 (0.38%) (Loveless, 1992) ดังนั้นเราควรตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์ไม้ป่า ของประเทศเรา ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งทรัพยากรที่มีค่าด้านป่าไม้ของกลุ่มประเทศป่าเขตร้อน และสมควรอย่างยิ่งที่จะหา แนวทางและมาตรการในการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมทางด้านป่าไม้ที่มีค่านี้ไว้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above