Page 21

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

1 บทที่ 1 พันธุศาสตร์ป่าไม้ระดับโมเลกุล ความสำคัญของพันธุศาสตร์ป่าไม้ระดับโมเลกุล ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศไทยได้ถูกทำลายและลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้เหลือพื้นที่ป่าอยู่เพียง 31.68 เปอร์เซ็นต์ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2563) จากความตื่นตัวในการเห็นความสำคัญของ ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ทรัพยากรด้านป่าไม้จึงได้มีการศึกษาในระบบนิเวศชนิดพันธุ์พืชและไม้ป่า เพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง แต่การศึกษาทางด้านพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่ายังมี การศึกษาอยู่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาวิจัยสาขาอื่นโดยเฉพาะในประเทศไทย ทฤษฎีทางวิวัฒนาการทำให้เราทราบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมมีความสำคัญและจำเป็นอย่าง ยิ่งต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด หากไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะไม่ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้และจะค่อยๆ สูญพันธุ์ไปในที่สุด การวัดระดับ และการกระจายความหลากหลายทางพันธุกรรมได้นำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์และการอนุรักษ์ พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตอย่างแพร่หลาย (Hamrick et al., 1991) การที่จะเข้าใจรูปแบบของความแตกต่างทางพันธุกรรมภายในและระหว่างหมู่ไม้หรือประชากร เป็นสิ่งที่ ต้องกระทำในระยะเริ่มต้นของการปรับปรุงพันธุ์และอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่า เช่น การทดสอบถิ่นกำเนิด (Provenance trails) การทำสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า (Clonal and seedling seed orchard) และการทดสอบลูกไม้ (Progeny test) อย่างไรก็ตามมีวิธีการอยู่หลายวิธีซึ่งสามารถนำมาศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมภายในและระหว่างหมู่ไม้ ได้ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะใดที่ต้องการศึกษาโดยทั่วไป การใช้ลักษณะทางปริมาณ (Quantitative traits) ที่ใช้กับ โครงการปรับปรุงพันธุ์และอนุรักษ์ไม้ป่า คือ การวัดความโต ความสูง ความตรง ปริมาตรเนื้อไม้ และมวลชีวภาพฯลฯ มาใช้ประกอบการศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตามลักษณะดังกล่าวข้างต้น เป็นลักษณะที่มี อิทธิพลจากลักษณะทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม (Phenotype = Genotype + Environment) โดยถูกควบคุมจาก ยีนหลายยีน (Polygenes) ทำให้การศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมดังกล่าวเป็นไปได้ยากและได้ผลไม่แน่ชัด เพราะความแตกต่างที่วัดได้ อาจไม่ได้มาจากลักษณะทางพันธุกรรมทั้งหมด และยังต้องใช้เวลานาน ประกอบกับไม่ สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้คงที่ในภาคสนามได้ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามการศึกษาพันธุศาสตร์ป่าไม้ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลทางพันธุกรรม (Molecular genetic markers) มาศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมของไม้ป่าโดยเฉพาะเครื่องหมาย ไอโซเอนไซม์ (Isoenzyme gene markers) และเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA markers) ได้ถูกนำมาใช้ ในงานด้านพันธุศาสตร์ป่า ไม้มากกว่า 40 ปีมาแล้วในต่างประเทศ และในประเทศไทยเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมาทั้งนี้เพราะว่ามีข้อดี คือ เป็น ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยลักษณะพันธุกรรมโดยตรง โดยไม่มีสิ่งแวดล้อมเข้ามา เกี่ยวข้องและเพราะว่าไอโซเอนไซม์ (Isoenzyme) มีผลเกี่ยวข้องกับ Gene โดยตรง เนื่องจาก Enzyme คือ Protein product ที่ถูกแปรรหัสและควบคุม โดยลำดับของ DNA nucleotides ในหน่วยของพันธุกรรม (Gene) (Rudin, 1977) ดังนั้นความแตกต่างทางพันธุกรรม ที่วัดได้จาก เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ยีน (Isoenzyme gene markers) จะมีความแตกต่างทางพันธุกรรมโดยตรง ซึ่งสามารถจำแนกลักษณะพันธุกรรมของต้นไม้แต่ละต้นได้ว่าเป็น Homozygous หรือ Heterozygous (สุจิตรา,


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above