Page 220

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

200 3. ถอดรหัสพันธุกรรม นำดีเอ็นเอที่สกัดได้มาเพิ่มปริมาณยีนด้วยไพรเมอร์ ซึ่งเป็นยีนในส่วนของคลอโรพลาสต์จีโนม คือ trnH + psbA ขนาด 350 bp ในการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่ศึกษา จากหลักการของวิธี Chain termination method ใช้ชุด Big Dye Terminator v3.1 Cycle Sequencing Kit (Applied Biosystems, USA) โดยทำพีซีอาร์ซึ่งจะติดฉลากด้วยฟลูออเรสเซนต์ จากนั้นนำ PCR product ที่ได้ ไปทำให้บริสุทธิ์ และนำสารละลายที่ได้มาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ โดยใช้เครื่องวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ ABI PRISM® 3100-Avant Genetic Analyzer (Applied Biosystems, USA) แล้วจึงวิเคราะห์ผลลำดับนิวคลีโอไทด์โดยการ เปรียบเทียบความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์กับฐานข้อมูลไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ไม้ชิงชัน (D. Oliveri) กระพี้เขาควาย (D. cultrata) และประดู่ (P. macrocarpus) 3. วัตถุพยานรายการที่ 8.1 (ตาม หมายเลขซองลำดับที่ 1.3), ที่ 8.2 (ตามหมายเลขซองลำดับที่ 2.2) และที่ 8.3 (ตามหมายเลขซองลำดับที่ 3.1) มีโครงสร้างทางพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ตรงกันหรือไม่อย่างไร และวัตถุพยานรายการที่ 8.3 เก็บจาก เลื่อยโซ่ยนต์และบนกระบะรถพ่วงลากของรถไถที่ต้องสงสัยมีโครงสร้างทางพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ตรงกับวัตถุ พยานรายการที่ 8.1 ที่เก็บจากตอไม้ที่เกิดเหตุหรือไม่อย่างไร นำดีเอ็นเอที่สกัดได้มาเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ จำนวน 10 ตำแหน่ง และเปรียบเทียบกับไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากอุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ อุทยาน แห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติภูเวียง ผลการวินิจฉัยพันธุกรรม 1. ผลการพิสูจน์วัตถุพยานรายการที่ 8.1 (ตามหมายเลขซองลำดับที่ 1.3), ที่ 8.2 (ตามหมายเลข ซองลำดับที่ 2.2) และที่ 8.3 (ตามหมายเลขซองลำดับที่ 3.1) ว่าเป็นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) หรือไม่ ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์โดยการถอดรหัสพันธุกรรมยีนในส่วนของคลอโรพลาสต์จีโนม คือ trnH + psbA ขนาด 350 bp โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์กับฐานข้อมูลไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ชิงชัน (D. Oliveri) กระพี้เขาควาย (D.cultrata) และประดู่ (P.macrocarpus) โดย ผ่านโปรแกรม Bioedit และ Mega 6 ผลการศึกษาพบว่าวัตถุพยานทั้ง 3 ตัวอย่างมีรหัสพันธุกรรมตรงกับ ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ดังภาพที่ 24.1 2. ผลการพิสูจน์วัตถุพยานรายการที่ 8.1 (ตามหมายเลขซองลำดับที่ 1.3), ที่ 8.2 (ตามหมายเลข ซองลำดับที่ 2.2) และที่ 8.3 (ตามหมายเลขซองลำดับที่ 3.1) มีโครงสร้างทางพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ตรงกัน หรือไม่อย่างไร โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์ (microsatellite markers) 10 เครื่องหมายดีเอ็นเอ เปรียบเทียบกับไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากอุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติภูเวียง พบว่าวัตถุพยานตามหมายเลขซองลำดับที่ 1.3, 2.2 และ 3.1 มีลักษณะทางพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) เหมือนกัน ดังตารางที่ 24.1 ภาพที่ 24.2 และภาพที่ 24.3 3. ผลการพิสูจน์วัตถุพยานรายการที่ 8.3 (ตามหมายเลขซองลำดับที่ 3.1) เก็บจากเลื่อยโซ่ยนต์และ บนกระบะรถพ่วงลากของรถไถที่ต้องสงสัยมีโครงสร้างทางพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ตรงกับวัตถุพยานรายการที่ 8.1 (ตามหมายเลขซองลำดับที่ 1.3) ที่เก็บจากตอไม้ที่เกิดเหตุหรือไม่อย่างไร พบว่าวัตถุพยานรายการที่ 8.3


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above