Page 224

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

204 บทที่ 25 คดีนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า: การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและการถอดรหัสพันธุกรรม ในไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอ คำนำ บทนี้เป็นการประมวลประสบการณ์ของผู้เขียนในการดำเนินงานด้านนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่าใน ประเทศไทยเมื่อสิบกว่าปีก่อนซึ่งนับว่าเป็นงานที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่ามาก่อน โดยได้ใช้รหัสพันธุกรรมในไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอในการจำแนกชนิดพันธุ์ สายพันธุ์ และแหล่งที่มาของสัตว์ ป่าของกลางเพื่อการบังคับใช้กฎหมายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้อุรังอุตัง เสือ ช้าง และวัวแดง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและใกล้สูญพันธุ์ในบัญชีไซเตส และใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์ในการ วินิจฉัยจำนวนตัวของเสือของกลาง อย่างไรก็ตามสัตว์ป่าเหล่านี้และผลิตภัณฑ์ของสัตว์ป่าดังกล่าวได้ถูกล่า และลักลอบอย่างผิดกฎหมายในเอเชียและแอฟริกา จากประสบการณ์ของผู้เขียนในคดีสัตว์ป่าของกลางที่มี การวินิจฉัยตรวจสอบแหล่งที่มา ชนิดพันธุ์ สายพันธุ์ และจำนวนตัว 4 คดี ที่ถูกนำมาเสนอเป็นกรณีศึกษาใน บทนี้ กล่าวคือได้มีการวินิจฉัยตรวจสอบแหล่งที่มาตามภูมิศาสตร์ในอุรังอุตังที่เป็นสัตว์ป่าของกลาง 53 ตัว การวินิจฉัยชนิดพันธุ์ของเนื้อเสือของกลาง 17 ชิ้น หนังเสือของกลาง 6 ชิ้น และจำนวนตัวของเสือของกลาง และการวินิจฉัยชนิดของช้างจากผลิตภัณฑ์งาช้าง 7 ผลิตภัณฑ์และการวินิจฉัยว่าเนื้อของกลางเป็นวัวแดง หรือไม่ ในการที่จะวินิจฉัยแหล่งที่มาของอุรังอุตังของกลาง สายพันธุ์ของชิ้นเนื้อเสือของกลาง ชนิดพันธุ์ของ ช้างจากผลิตภัณฑ์จากงาช้าง และชิ้นเนื้อของกลาง คาดว่าในวัวแดงนี้ได้ทำการศึกษาโดยการถอดรหัส พันธุกรรมที่ไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอและจำนวนตัวของเสือด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์ (Changtragoon, 2012) กรณีศึกษาทั้ง 4 นี้ สรุปพอสังเขปมีดังต่อไปนี้ กรณีศึกษาที่ 1: อุรังอุตัง อุรังอุตังได้ถูกลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย ประเทศไทยได้มี ความต้องการที่จะส่งอุรังอุตังกลับคืนถิ่นเดิม แต่ต้องการให้กลับให้ถูกแหล่งกำเนิดเดิม จึงได้มีการวินิจฉัย แหล่งพันธุกรรมของอุรังอุตังดังกล่าวด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมในไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอที่ตำแหน่ง Control region เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลแหล่งพันธุกรรมของ อุรังอุตังระดับนานาชาติของ Genbank NCBI (National Center for Biotechnology Information) ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า อุรังอุตัง 53 ตัว เป็นสายพันธุ์บอร์เนียว (P. pygmacus pygmacus) อุรังอุตัง 50 ตัว มีความเป็นไปได้ว่ามาจากตะวันตกเฉียงใต้และตอนกลางของกาลิมันตัน บนเกาะบอร์เนียว ประเทศ อินโดนีเซีย ส่วนอีก 3 ตัว มีความเป็นไปได้ว่า มาจากตะวันออกของกาลิมันตัน เกาะบอร์เนียว ประเทศ อินโดนีเซีย ผลการศึกษามีประโยชน์ต่อหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยงานไซเตสของประเทศไทย ที่สามารถดำเนินส่งอุรังอุตังกลับสู่แหล่งกำเนิดเดิมได้ (Changtragoon, 2012) กรณีศึกษาที่ 2: เสือ (Panthera spp.) เสือที่ได้ถูกวินิจฉัยครั้งนี้เกิดจากการการลักลอบล่าและ นำส่งไปตามเส้นทางชายแดนภาคเหนือของไทย สำหรับการค้าที่ผิดกฎหมายและได้ถูกจับกุมโดยหน่วยงาน


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above