205 ไซเตสของประเทศไทย ดังนี้ ชิ้นเนื้อของกลางเสือ 17 ชิ้น และมีหนังสือของกลาง 6 ชิ้น ถูกนำมาวินิจฉัยชนิด และสายพันธุ์ของเสือ การถอดรหัสพันธุกรรมในไมโทคอนเดรียยีนที่ตำแหน่ง 1 C1494F/T1936R (ND6; NADH dehydrogenase subunit 6) 2 C2339F/T2893R (CytB; cytochome b) 3 L14724/HCAT (CytB; cytochome b) Cracraft et al. (1998) 4 CR-UPF/CR-R2B (CR: control region) 5 C8276F/T8620R (ND1 ; NADH dehydrogenase subunit 1 ) 6 T8 9 4 2 F/C9 3 8 4 R(ND2 ; NADH dehydrogenase subunit 2) และ 7 C9366F/T9882R (ND2; NADH dehydrogenase subunit 2) และประมวลผล วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมเปรียบเทียบกับฐานข้อชนิดพันธุ์ สายพันธุ์เสือในระดับนานาชาติของ Genbank ใน NCBI (National Center for Biotechnology Information) ผลการศึกษาพบว่าจากตัวอย่าง ชิ้นเนื้อของกลาง 17 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นเสือโคร่ง (Panthera tigris) 12 ตัวอย่าง ประกอบด้วย 3 สายพันธุ์ ดังนี้ สายพันธุ์ Indochinese tiger (Panthera tigris corbetti) Amur tiger (Panthera tigris altaica) และ Malayan tiger (Panthera tigris jacksoni) ส่วนอีก 3 ตัวอย่างนั้นเป็นเสือดาว (Panthera pardus) 1 ตัวอย่าง และเสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) 2 ตัวอย่าง ส่วนหนังอีก 6 ชิ้นนั้นพบว่า 3 ตัวอย่างเป็น เสือ Indochinese (Panthera tigris corbetti) และอีก 3 ชิ้นเป็นเสือดาว (Panthera pardus) ผล การศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการบังคับใช้กฎหมายและการป้องกันและอนุรักษ์พันธุ์เสือ และขยายผล จับกุมผู้กระทำผิดทั้งในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา (Changtragoon, 2012) กรณีศึกษาที่ 3: งาช้าง ผลจากการศึกษาการถอดรหัสพันธุกรรมในไมโทคอนเดรียที่ตำแหน่ง Cytochrome b ยีนเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของช้างระดับนานาชาติและเปรียบเทียบกับ ฐานข้อมูล Genbank ของ NCBI (National Center for Biotechnology Information) พบว่า มีตำแหน่ง ที่จำเพาะนิวคลีโอไทด์กับช้างเอเชีย (Elephas maximus) 15 ตำแหน่ง และมี 14 ตำแหน่งที่จำเพาะกับช้าง แอฟริกา (Loxodonta africana cyclotis) ผลการศึกษาพบว่า 5 ผลิตภัณฑ์งาช้างมาจากช้างเอเชีย (Elephas maximus) และอีก 2 ผลิตภัณฑ์งาช้างมาจากช้างแอฟริกาที่มาจากป่า (Loxodonta africana cyclotis) (Changtragoon, 2012) กรณีศึกษาที่ 4: เนื้อของกลางที่ต้องสงสัยได้ถูกส่งมาจากหน่วยปฏิบัติการของเครือข่ายการบังคับ ใช้กฎหมายสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งภูมิภาคอาเซียน (ASEAN-Wildlife Enforcement Network: ASEANWEN) และ ไซเตสของประเทศไทยกับกัมพูชาได้ให้ประเทศไทยช่วยวินิจฉัยว่าเป็นเนื้อของวัวแดงหรือไม่ ผลจากการศึกษาวินิจฉัยรหัสพันธุกรรมของไมโทคอนเดรียที่ตำแหน่ง Cytochrome b ยีน เพื่อวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของสัตว์ป่าระดับนานาชาติและเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล Genbank ของ NCBI (National Center for Biotechnology Information) พบว่า ชิ้นเนื้อดังกล่าว เป็นเนื้อของควาย Water buffalo (Bubalus bubalis) เนื่องจากควายไม่ได้อยู่ในบัญชีไซเตสและไม่ได้ขัดต่อกฎหมายไซเตสจึงได้ รายงานให้หน่วยปฏิบัติการในประเทศกัมพูชาดำเนินการต่อไป จากการนำเสนอกรณีศึกษาทั้ง 4 ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าวิธีการวินิจฉัยสัตว์ป่าแต่ละชนิดไม่ว่าจำแนกชนิด สายพันธุ์ หรือแหล่งที่มานั้นต้องอาศัย ฐานข้อมูล Genbank ของ NCBI (National Center for Biotechnology Information) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ข้อมูลพันธุกรรมของการศึกษาระดับนานาชาติที่ได้รวบรวมอย่างเป็นระบบเพื่อใช้ในฐานข้อมูลกลางมี
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above