Page 227

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

207 แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของพวกมัน ดังนั้นในการศึกษานี้จึงสามารถระบุที่มาของอุรังอุตังที่ถูกยึดได้โดยใช้ ลำดับดีเอ็นเอของไมโตคอนเดรีย ภาพที่ 25.1 แสดงภาพอุรังอุตังที่ถูกนำเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย วิธีการวินิจฉัยพันธุกรรม ได้นำตัวอย่างเลือดอุรังอุตังมาสกัดดีเอ็นเอด้วยชุดสกัด Qiagen© DNeasy blood extraction kit แล้วนำดีเอ็นเอที่สกัดได้มาเพิ่มปริมาณ (PCR, polymerase chain reaction ) ด้วยไพรเมอร์ซึ่งเป็นยีนใน ไมโทคอนเดรีย โดยการออกแบบไพร์เมอร์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนชิ้น DNA บริเวณ Control region ขนาด 278 bp (F: 5’CAACATGAATATCACCC R:5’-TGTGCGGGATATTGATTTCAC) โดยใช้ข้อมูลลำดับเบส ของบริเวณที่มีความผันแปร จากงานวิจัยอื่นๆที่ศึกษาในบริเวณ Control region ของอุรังอุตัง,ชิมแพนซี และมนุษย์ และเชื่อมต่อชิ้นดีเอ็นเอหรือยีนเข้ากับ พลาสมิดใช้ชุด pGEM-T Easy Vector System I kit (Promega, USA) ซึ่งมาพร้อมกับพลาสมิด pGEM-Teasy vector และถ่ายยีนเข้าสู่แบคทีเรียเจ้าบ้าน (host) เพื่อเพิ่มปริมาณพลาสมิดสายผสม โดยวิธี CaCl2 heat shock transformation (Sambrook et al., 1989) หลังจากนั้นตรวจยืนยันชิ้นดีเอ็นเอหรือยีนที่อยู่ในพลาสมิดสายผสม และเพิ่มปริมาณในเซลล์เจ้าบ้าน โดยใช้วิธีโคโลนีพีซีอาร์ จากนั้นสกัดแยกพลาสมิดให้บริสุทธิ์โดยใช้ชุดสกัด High Pure Plasmid Isolation Kit จาก Roche ในการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่ศึกษา จากหลักการของวิธี Chain termination method ใช้ชุด Big Dye Terminator v3.1 Cycle Sequencing Kit (Applied Biosystems, USA) โดยทำ พีซีอาร์ ซึ่งจะติดฉลากด้วย ฟลูออเรสเซนต์ จากนั้นนำ PCR product ที่ได้ไปทำให้บริสุทธิ์ และนำ สารละลายที่ได้มาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ โดยใช้เครื่องวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ ABI PRISM® 3100- Avant Genetic Analyzer (Applied Biosystems, USA) แล้วนำลำดับดีเอ็นเอของไมโตคอนเดรียที่ได้รับจาก อุรังอุตังต้นกำเนิดที่ไม่รู้จักมาเปรียบเทียบกับลำดับ mtDNA ของลิงอุรังอุตังที่สอดคล้องกันจาก Warren et al. (2001) ใน NCBI GenBank (http://www.ncbi.nlm.nih.gov) จากนั้นวิเคราะห์ผลลำดับนิวคลีโอไทด์โดย การเปรียบเทียบความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ กับฐานข้อมูล gene bank โดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ต่อไปนี้: BioEdit sequence aligment, DnaSP 4.0 (Rozas et al., 2003) และ Mega 3.1 (Kumar et al., 2004)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above