Page 228

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

208 ผลการวินิจฉัยพันธุกรรมและวิจารณ์ ลำดับ DNA ของไมโทคอนเดรียที่บริเวณ Control region ของอุรังอุตังที่ถูกยึด 53 ตัว มีความยาว 280-304 bp ในขณะที่ Warren et al. (2001) พบว่ามีความยาว 245-278 bp อ้างอิงจากการเปรียบเทียบ ขนาดที่ผันแปรของลำดับนิวคลีโอไทด์ในลิงอุรังอุตัง กับ Warren et al. (2001) และการวิเคราะห์สาย วิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่าอุรังอุตังที่ถูกยึดเป็นสายพันธุ์ย่อยบอร์เนียว (Pongo pygmaeus pygmaeus) แสดง ว่าลิงอุรังอุตังที่ถูกยึด 50 ตัว มีตำแหน่งตัวแปรจำเพาะของประชากร (A98) ที่สอดคล้องกับลำดับจากทาง ตะวันตกเฉียงใต้และกาลิมันตันกลางซึ่งไม่พบในลำดับของประชากรอื่น ในทางกลับกันอุรังอุตังที่ถูกยึดอีก สามตัวที่เหลือมีตำแหน่งมีความผันแปรจำเพาะของนิวคลีโอไทด์ที่ตำแหน่ง A78 สำหรับประชากรจากกาลิ มันตันตะวันออกที่ตีพิมพ์โดย Warren et al. (2001) โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก phylogenetic tree การจัดกลุ่มอุรังอุตัง โดยการถอดรหัสพันธุกรรมจา Control region รายละเอียดสามารถศึกษาได้จาก Changtragoon (2010) และ Changtragoon (2012) ลำดับดีเอ็นเอของอุรังอุตังห้าสิบตัวมีลำดับเบส เดียวกันกับลำดับของประชากรทางตะวันตกเฉียงใต้และทางตอนกลางของกาลิมันตัน ขณะที่อุรังอุตังอีกสาม ตัวมีลำดับชั้นของประชากรกาลิมันตันตะวันออก จากผลการศึกษาดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าอุรังอุตังห้าสิบตัวมา จากกาลิมันตันตะวันตกเฉียงใต้และตอนกลาง บอร์เนียว และอุรังอุตังอีกสามตัว (หมายเลข 32, 44 และ 46) อาจมาจากกาลิมันตันตะวันออกบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย จากข้อมูลของผลลัพธ์นี้ รัฐบาลของ ราชอาณาจักรไทยได้ส่งอุรังอุตังที่ถูกยึดทั้งหมดไปยังประเทศอินโดนีเซียเพื่อพักฟื้นและนำตัวกลับคืนสู่ ประชากรบอร์เนียวที่เหมาะสม ผลจากการวินิจฉัยพันธุกรรมครั้งนี้มีประโยชน์สำหรับผู้บังคับใช้กฎหมายและการดำเนินการตาม กฎหมาย CITES (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์) เพื่อส่งลิง อุรังอุตังที่ถูกยึดกลับไปยังแหล่งกำเนิด ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ อุรังอุตังในเกาะและประชากรต่าง ๆ ได้ แยกย้ายกันไปนานแล้ว หากถูกส่งไปผิดที่อาจไม่ได้รับการต้อนรับจากกลุ่ม และไม่สามารถสื่อสารกับตัว อื่นได้ หรืออาจไม่พบคู่ครองอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลต่อแหล่งพันธุกรรมของลิงอุรังอุตังตามธรรมชาติ เหล่านั้น ดังนั้น ข้อมูลที่ได้รับในเรื่องนี้และการศึกษาอื่นๆ จึงมีความสำคัญมากสำหรับการวิจัยทาง นิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่าที่มีประสิทธิภาพ การบังคับใช้กฎหมาย CITES รวมถึงเครือข่ายการบังคับใช้สัตว์ป่า อาเซียน (ASEAN-WEN) (Changtragoon, 2012) สรุปผลการวินิจฉัยพันธุกรรม จากผลการเปรียบเทียบตำแหน่งที่ผันแปรของนิวคลีโอไทด์และการวิเคราะห์สายวิวัฒนาการ ชี้ให้เห็นว่าลิงอุรังอุตังที่ถูกยึดจำนวน 53 ตัวนั้นเป็นสายพันธุ์ย่อยของบอร์เนียว ( Pongo pygmaeus pygmaeus) อุรังอุตังห้าสิบตัวอาจมาจากทางตะวันตกเฉียงใต้และทางตอนกลางของกาลิมันตัน บอร์เนียว และลิงอุรังอุตังอีก 3 ตัวที่อาจมาจากกาลิมันตันตะวันออก บอร์เนียว อินโดนีเซีย ผลลัพธ์นี้มีประโยชน์ สำหรับ CITES (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์) และการ ดำเนินการเพื่อส่งลิงอุรังอุตังเหล่านั้นกลับไปยังแหล่งกำเนิดที่ถูกต้อง (Changtragoon, 2010; Changtragoon, 2012)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above