Page 231

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

211 TBE buffer ที่ผสมด้วยเอธิเดียมโบรไมด์ ผ่านกระแสไฟฟ้า 1,000 โวลต์ นาน 45 นาที เปรียบเทียบกับ ดีเอ็นเอมาตรฐานขนาด 50 bp ในการวิเคราะห์ผลนั้นวิเคราะห์ข้อมูลไมโครแซทเทลไลท์ โดยคำนวณหา ค่าเฮตเตอโรไซโกซิตี (heterozygosity) โดยใช้โปรแกรม TFPGA (Miller, 1997) และจัดแผนผังความสัมพันธ์ ทางพันธุกรรม (สุจิตรา และพิษณุกร, 2552 และ Changtragoon, 2012) ผลการศึกษาวิจัย : การถอดรหัสพันธุกรรม ผลที่ได้จากการวิเคราะห์โดยการถอดรหัสพันธุกรรมจากยีนในไมโตรคอนเดรีย จากตัวอย่างชิ้นเนื้อ 17 ตัวอย่าง พบว่า 12 ตัวอย่างเป็นชิ้นเนื้อเสือโคร่ง (Panthera tigris) 3 ตัวอย่าง เป็นเสือดาว (Panthera pardus) และ 2 ตัวอย่างเป็นเสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) รายละเอียดแสดงดังภาพที่ 25.2 โดยที่ชิ้นเนื้อเสือโคร่ง 12 ตัวอย่าง ได้ถูกถอดรหัสพันธุกรรมจากยีนในไมโตรคอนเดรีย 7 ชิ้นส่วนของยีนโดยเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลที่ ทำการศึกษาโดยรายงานของ Lou et al. (2004) และ Cracraft et al. (1998) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ Amur Tiger (Panthera tigris altaica), Indochinese Tiger (P. t. corbetti) และMalayan Tiger (P. t. jacksoni) รายละเอียดศึกษาเพิ่มเติมได้จาก Changtragoon and Singthong (2010a) และ Changtragoon (2012)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above