Page 238

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

218 ตารางที่ 25.4 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์งาช้างจากที่รับมาศึกษา ผลการวินิจฉัยพันธุกรรม ผลที่ได้จากการวิเคราะห์โดยการถอดรหัสพันธุกรรมจากยีนในไมโทคอนเดรีย คือ cytochrome b ,control region และ ND5 พบว่า ในยีน control region และ ND5 มี species specific variable site น้อยกว่าในยีน cytochrome b Changtragoon and Singthong (2010b) และ Changtragoon (2012) จึงเลือกใช้ยีน cytochrome b ในการวิเคราะห์ผล และพบว่า จากตัวอย่างผลิตภัณฑ์งาช้าง 7 ตัวอย่าง และ รกช้างจาก จ. ประจวบคีรีขันธ์ ดังแสดงในภาพที่ 25.7 ได้แสดงรหัสพันธุกรรมของงาช้างที่ศึกษา โดยพบว่า 5 ตัวอย่างเป็นงาช้างเอเชีย (Elephas Maximus) ซึ่ง 5 ตัวอย่างประกอบไปด้วยพระพุทธรูป 1, 2 พระพิฆเนศ สร้อยคอ กำไลข้อมือและ รกช้าง และ 2 ตัวอย่าง คือ ไม้กางเขน 1,2 เป็นงาช้างแอฟริกัน (Loxodonta cyclotis) และมี species specific variable site ของช้างเอเชียมีทั้งหมด 15 ตำแหน่ง species specific variable site ของช้างแอฟริกา (Forest elephant) Loxodonta africana 14 ตำแหน่ง species specific variable site มีการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสแบบ point mutation ในรูปแบบ transitions คือมีการแทนที่เบส purine ด้วย เบส purine หรือ แทนที่เบส pyrimidine ด้วยเบส pyrimidine เช่น A ↔ G และ C ↔ T รายละเอียดสามารถศึกษาได้จาก (Changtragoon, 2012) ตัวอย่างที่รับมา ลำดับของตัวอย่าง รหัสย่อของตัวอย่าง พระพุทธรูป(1) ตัวอย่างที่1 1 พระพิฑเนศ ตัวอย่างที่ 2 2 พระพุทธรูป(2) ตัวอย่างที่ 3 3 สร้อยคอ ตัวอย่างที่ 4 4 กำไลข้อมือ ตัวอย่างที่ 5 5 ไม้กางเขน(1) ตัวอย่างที่ 6 6.1 ไม้กางเขน(2) ตัวอย่างที่ 7 6.2


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above