220 ภาพที่ 25.7 แสดงลำดับนิวคลีโอไทด์ที่เป็น variable site ของผลิตภัณฑ์งาช้างเอเชีย 15 ตำแหน่ง เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์งาช้างแอฟริกา สรุปผลการวินิจฉัยพันธุกรรม ผลจากการศึกษาโดยวิธีถอดรหัสพันธุกรรม จากตัวอย่างผลิตภัณฑ์งาช้างแกะสลัก 7 ทั้งตัวอย่าง พบว่า 5 ตัวอย่างคือ พระพุทธรูป (1) พระพิฆเนศ,พระพุทธรูป (2) สร้อยคอและกำไลข้อมือเป็นช้างเอเชีย Elephas Maximus (Asiatic elephant) และอีก 2 ตัวอย่างคือ ไม้กางเขน 1 และ 2 เป็นช้างแอฟริกัน Loxodonta cyclotis (forest elephant) (Changtragoon and Singthong 2010b; Changtragoon, 2012) กรณีศึกษาที่ 4: การจำแนกชนิดพันธุ์ของตัวอย่างชิ้นเนื้อโดยการถอดรหัสพันธุกรรม บทนำ ด้วยกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา ที่ ทส 0902.3/1199 เรื่อง ขอความ อนุเคราะห์ตรวจพิสูจน์ทางพันธุกรรมชิ้นเนื้อสัตว์ป่าจากประเทศกัมพูชา ซึ่งได้รับการประสานจากสำนักงาน เครือข่ายการป้องกันและปราบปรามการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมายในภูมิภาคอาเ ซียน (ASEANWEN) ขอความอนุเคราะห์ตรวจชิ้นเนื้อสัตว์ป่าต้องสงสัยที่ Management Authority of Cambodia ส่ง มายังสำนักงาน ASEAN-WEN ว่าเป็นชื้นเนื้อของสัตว์ป่าชนิดพันธุ์ใด และเพื่อความสัมพันธ์อันดีและเป็น ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศในการดำเนินการให้เป็นไปตามพันธะกรณีแห่ง อนุสัญญาฯ CITES จึงได้ทำการส่งตัวอย่างชิ้นเนื้อสัตว์ป่าต้องสงสัย คือ ชิ้นเนื้อ 1 ตัวอย่างดังแสดงในภาพที่ 25.8 มาให้สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เพื่อตรวจหารหัสพันธุกรรมนั้น ในการนี้สำนักวิจัยการ
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above