221 อนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชได้มอบหมายให้ โดยข้าพเจ้าทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานพันธุกรรมไม้ป่าและ เทคโนโลยีชีวภาพในขณะนั้น ทำการศึกษาวิจัยพันธุกรรมของตัวอย่างดังกล่าว ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์โดย ถอดรหัสพันธุกรรมจากยีนใน ไมโตรคอนเดรีย คือ cytochrome b ขนาด 650 bp และ D-loop ขนาด 320 bp ในตัวอย่างชิ้นเนื้อได้สำเร็จ แล้วจึงวิเคราะห์ผลลำดับนิวคลีโอไทด์โดยการเปรียบเทียบความ แตกต่างของลำดับ นิวคลีโอไทด์กับฐานข้อมูล gene bank อยู่ในเว็บไซด์ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/ ในการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ในแต่ละสปีชีส์ของสัตว์แต่ละชนิดโดยผ่านโปรแกรม Bioedit, DnaSP4.0 และ Mega 3.1 ผลการศึกษาสามารถสรุปการศึกษาได้ดังนี้ ชิ้นเนื้อ 1 ตัวอย่าง เป็นควาย Water buffalo (Bubalus bubalis) ภาพที่ 25.8 แสดงตัวอย่างชิ้นเนื้อสัตว์ป่าต้องสงสัย วิธีการวินิจฉัยพันธุกรรม สกัด DNA จากตัวอย่างเนื้อสัตว์ป่า ด้วยชุดสกัด DNeasy Tissue Kit (QIAGEN) แล้วนำดีเอ็นเอที่ สกัดได้มาเพิ่มปริมาณยีนด้วยไพรเมอร์ ซึ่งเป็นยีนในไมโทคอนเดรีย ในการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน ที่ศึกษา จากหลักการของวิธี Chain termination method ใช้ชุด Big Dye Terminator v3.1 Cycle Sequencing Kit (Applied Biosystems, USA) โดยทำพีซีอาร์ซึ่งจะติดฉลากด้วยฟลูออเรสเซนต์ จากนั้นนำ PCR product ที่ได้ ไป ทำให้บริสุทธิ์ และนำสารละลายที่ได้มาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ โดยใช้เครื่อง วิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ ABI PRISM® 3100-Avant Genetic Analyzer (Applied Biosystems, USA) แล้ว จึงวิเคราะห์ผลลำดับนิวคลีโอไทด์โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของลำดับ นิวคลีโอไทด์ กับฐานข้อมูล gene bank ของโลกที่มีอยู่ในเว็บไซด์ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/ ผลการวินิจฉัยพันธุกรรม จากผลการศึกษาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าห้องปฏิบัติการ DNA กลุ่มงาน พันธุกรรมไม้ป่าและ เทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุพืชสามารถ สกัด DNA และถอดรหัสพันธุกรรมจากตัวอย่างหนังสัตว์ป่าได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวสามารถ
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above