Page 247

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

227 บทที่ 26 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากร ทางพันธุกรรมป่าไม้ การฟื้นฟูป่าและปลูกป่า และนิติวิทยาศาสตร์ป่าไม้และสัตว์ป่า สรุปผลการศึกษาวิจัยและข้อเสนอแนะ ความหลากหลายทางพันธุกรรม เป็นองค์ประกอบหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพที่มี ความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางชีวภาพด้านป่าไม้ที่มี ประสิทธิภาพ จึงควรจะต้องมีข้อมูลสถานภาพทรัพยากรทางพันธุกรรมป่าไม้ ซึ่งสามารถสำรวจและประเมิน ได้โดยการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม ทั้งนี้ความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในชนิดไม้ป่าและ พืชป่าแต่ละชนิดเป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เกิดการวิวัฒนาการและมีโอกาสในการอยู่ รอดและปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่หลากหลายและผันแปร ดังนั้นการศึกษาความหลากหลายทาง พันธุกรรม จึงเป็นหัวใจหลักหนึ่งในการพัฒนากลยุทธ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์ ทรัพยากรทางชีวภาพด้านป่าไม้ให้มีประสิทธิภาพ จากผลการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมในไม้ป่าและพืชป่าที่เป็นตัวแทนสังคมป่าในระบบ นิเวศที่หลากหลายโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน ดังได้กล่าวในบทก่อนหน้านี้ สามารถสรุป ให้เห็นเป็นภาพรวมในตารางที่ 26.1 จากข้อมูลการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม และระบบการ สืบพันธุ์ของไม้ป่า และพืชป่าบางชนิด ดังกล่าวข้างต้นจะสามารถนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนการ อนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้ป่าและพืชป่าที่อยู่ตามระบบนิเวศของป่าชนิดต่างๆได้แตกต่างกันไป กล่าวคือหาก แหล่ง (ประชากร) ใดของชนิดพันธุ์ที่ศึกษามีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ก็มีความเหมาะสมที่จะถูก คัดเลือกให้เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมในถิ่นกำเนิด เป็นต้นซึ่งจากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถสรุปผลการ ประเมินสภาพความหลากหลายทางพันธุกรรมในไม้ป่าและพืชป่าเพื่อเป็นข้อเสนอแนะแนวทางในการ อนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งพันธุกรรมไม้ป่าและพืชป่าที่ศึกษาดังนี้ 1. ไม้สนสองใบ (Pinus merkusii) จากพื้นฐานผลจากการศึกษาวิจัยดังกล่าวข้างต้น จึงได้ เสนอแนะให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรทางพันธุกรรมของไม้สนสองใบ (P. merkusii) อย่างมีประสิทธิภาพใน การอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิด (In situ conservation) ที่แหล่ง (ประชากร) ห้วยทา เนื่องจากมีความหลากหลาย ทางพันธุกรรมสูงที่สุดเมื่อเทียบกับแหล่งอื่น และควรคัดเลือกแหล่งสำหรับการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดสำหรับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สูงลดลงมาเช่น ที่แหล่ง(ประชากร) หมู่บ้าน หนองคู จังหวัดสุรินทร์และ อำเภอโขงเจียมจังหวัดอุบลราชธานีและแหล่ง (ประชากร) ที่อยู่ทางภาคเหนือ เช่น หมู่บ้านบ้านวัดจันทร์ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากการอนุรักษ์พันธุกรรมในถิ่นกำเนิดควรมีการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิดด้วย ข้อดีในการ ดำเนินการดังกล่าวนั้น เนื่องจากการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิดจะทำให้บริหารจัดการง่ายและช่วยทำให้มีการ ปลูกป่าไม้สนสองใบนอกถิ่นกำเนิดที่มีอายุใกล้เคียงกันและมีความหนาแน่นของต้นสูง จึงทำให้เพิ่มโอกาสที่


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above