238 จึงได้รายงานให้หน่วยปฏิบัติการในประเทศกัมพูชาดำเนินการต่อไป จากการนำเสนอกรณีศึกษาทั้ง 4 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าวิธีการวินิจฉัยสัตว์ป่าแต่ละชนิดไม่ว่าจำแนกชนิด สายพันธุ์ หรือแหล่งที่มานั้นต้อง อาศัยฐานข้อมูล Genbank ของ NCBI (National Center for Biotechnology Information) ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าข้อมูลพันธุกรรมของการศึกษาระดับนานาชาติที่ได้รวบรวมอย่างเป็นระบบเพื่อใช้ในฐานข้อมูลกลางมี ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินการทางนิติวิทยาศาสตร์ที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในการบังคับใช้ กฎหมายได้ทันต่อเหตุการณ์รายละเอียดวิธีการศึกษาและผลการศึกษาได้แสดงสรุปผลสังเขปไว้ดังตารางที่ดัง ตารางที่ 26.3 ตารางที่ 26.3 สรุปคดีนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า กรณีศึกษา เครื่องมือทางพันธุกรรม ผลลัพธ์ การนำสู่ปฏิบัติและการบังคับ ใช้กฎหมาย (CITES) 1. อุรังอุตัง Mt DNA sequences at Control region 50 ตัวอย่าง มาจากตะวันตกเฉียงใต้และตอนกลางของ กาลิมันตันบนเกาะบอร์เนียว 3 ตัวอย่างมาจากตะวันออก ของกะลิมันเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย อุรังอุตังของกลางถูกส่งกลับไป ยังอินโดนีเซีย 2. เสือ Mt DNA sequences at cytochrome b gene และ microsatellite - จากชิ้นเนื้อ 17 ตัวอย่าง พบว่า 12 ตัวอย่างเป็นเสือ โคร่ง (Panthera tigris) ซึ่งประกอบด้วย 3 สายพันธุ์ (subspecies) คือ Indochinese tiger (P. t. corbetti), Amur tiger (P. t. altaica) และ Malayan tiger (P. t. jacksoni) ส่วนที่เหลืออีก 5 ตัวอย่างพบว่าเป็นเสือดาว (P. pardus) 3 ตัวอย่าง และเสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) 2 ตัวอย่าง - ตัวอย่างหนังเสือ 6 ตัวอย่างพบว่า 3 ตัวอย่างเป็น เสือโคร่ง (Panthera tigris) และอีก 3 ตัวอย่างคือ เสือดาว (P. pardus) ผลการศึกษาที่ได้สามารถจับกุม ผู้กระทำผิดโดยต้องเสียเงิน ค่าปรับ จำนวน 8,640,000 ล้าน บาท และถูกจำคุก ทั้งนี้ ผู้กระทำผิดยอมรับสารภาพจึง ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง นับว่าเป็นคดีที่ ถูกปรับโดยทางขบวนการค้า สัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายที่สูงที่สุดใน ประเทศไทย 3. งาช้าง Mt DNA sequences at cytochrome b gene ผลิตภัณฑ์งาช้าง 5 ตัวอย่างพบว่ามาจากช้างเอเชีย (Elephas maximus) และ 2 ตัวอย่างมาจากช้างป่า แอฟริกัน (Loxodonta africana cyclotis) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำมา ขยายผลจับกุมผู้ที่ทำการค้า ผลิตภัณฑ์งาช้างแอฟฟริกัน ได้ ทั้งในประเทศไทยและ สหรัฐอเมริกา 4. เนื้อวัวแดงที่ ต้องสงสัย Mt DNA sequences at cytochrome b gene เนื้อสัตว์ป่าที่ต้องสงสัยมาจากควาย (Bulalus bubalis) ไม่ได้มาจากวัวแดง (Bos javanicus) ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้สามารถ คุ้มครองผู้ไม่กระทำผิดในการ ลักลอบค้าสัตว์ป่า
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above