Page 257

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

237 คดีนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่าโดยการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและการถอดรหัสพันธุกรรม กรณีศึกษาที่ 1: อุรังอุตัง (Pongo pygmacus) อุรังอุตังได้ถูกลักลอบเข้าประเทสอย่างผิด กฎหมาย ประเทศไทยได้มีความต้องการที่จะส่งอุรังอุตังกลับคืนถิ่นเดิม ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า อุรังอุตัง 53 ตัว เป็นสายพันธุ์บอร์เนียว (P. pygmacus) อุรังอุตัง 50 ตัว มีความเป็นไปได้ว่ามาจากตะวันตกเฉียงใต้ และตอนกลางของกาลิมันตัน บนเกาะบอร์เนียว ส่วนอีก 3 ตัว มีความเป็นไปได้ว่า มาจากตะวันออกลางของ กาลิมันตัน เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ผลการศึกษามีประโยชน์ต่อหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและ หน่วยงานไซเตสของประเทศไทยที่สามารถดำเนินส่งอุรังอุตังกลับสู่แหล่งกำเนิดเดิมได้ (Changtragoon, 2010; Changtragoon, 2012) กรณีศึกษาที่ 2: เสือ (Panthera spp.) เสือที่ได้ถูกวินิจฉัยครั้งนี้เกิดจากการการลักลอบล่าและ นำส่งไปตามเส้นทางชายแดนภาคเหนือของไทย สำหรับการค้าที่ผิดกฎหมายและได้ถูกจับกุมโดยหน่วยงาน ไซเตสของประเทศไทย ดังนี้ ชิ้นเนื้อของกลางเสือ 17 ชิ้น และมีหนังสือของกลาง 6 ชิ้น ผลการศึกษาพบว่า จากตัวอย่างชิ้นเนื้อของกลาง 17 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นเสือโคร่ง (P. tigris) 12 ตัวอย่าง ประกอบด้วย 3 สายพันธุ์ ดังนี้ สายพันธุ์ Indochinese tiger (P. t. corbetti) Amur tiger (P. t. altaica) และ Malayan tiger (P. t. jacksoni) ส่วนอีก 3 ตัวอย่างนั้นเป็นเสือดาว (P. pardus) 1 ตัวอย่าง และเสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) 2 ตัวอย่าง ส่วนหนังอีก 6 ชิ้นนั้นพบว่า 3 ตัวอย่างเป็นเสือ Indochinese (P. t. corbetti) และ อีก 3 ชิ้นเป็นเสือดาว (P. pardus) ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการบังคับใช้กฎหมายและการป้องกัน และอนุรักษ์พันธุ์เสือ สามารถจับกุมผู้กระทำผิดโดยต้องเสียเงินค่าปรับ จำนวน 8,640,000 ล้านบาท และ ถูกจำคุก ทั้งนี้ผู้กระทำผิดยอมรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง นับว่าเป็นคดีที่ถูกปรับโดยทางขบวนการค้า สัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายที่สูงที่สุดในประเทศไทย (Changtragoon and Singthong, 2012; Changtragoon, 2012; Changtragoon and Maklang, 2010) กรณีศึกษาที่ 3: งาช้าง ผลจากการศึกษาการถอดรหัสพันธุกรรมของไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอใน ไมโทคอนเดรีย พบว่ามีตำแหน่งที่จำเพาะนิวคลีโอไทด์กับช้างเอเชีย (Elephas maximus) 15 ตำแหน่ง และมี 14 ตำแหน่งที่จำเพาะกับช้างแอฟริกา (Loxodonta africana cyclotis) ผลการศึกษาพบว่า 5 ผลิตภัณฑ์งาช้างมาจากช้างเอเชีย (Elephas maximus) และอีก 2 ผลิตภัณฑ์งาช้างมาจากช้างแอฟริกาที่มาจาก ป่า (Loxodonta africana cyclotis) สามารถนำมาขยายผลจับกุมผู้ที่ทำการค้าผลิตภัณฑ์งาช้างแอฟริกันได้ทั้ง ในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา (Changtragoon and Singthong, 2010b; Changtragoon, 2012) กรณีศึกษาที่ 4: เนื้อของกลางที่ต้องสงสัย ได้ถูกส่งมาจากหน่วยปฏิบัติการของเครือข่ายการ บังคับใช้กฎหมายสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งภูมิภาคอาเซียน (ASEAN-Wildlife Enforcement Network: ASEAN-WEN) และ ไซเตสของประเทศไทยกับกัมพูชาได้ให้ประเทศไทยช่วยวินิจฉัยว่าเป็นเนื้อของวัวแดง หรือไม่ ผลจากการศึกษาวินิจฉัยรหัสพันธุกรรมของ ไมโทคอนเดรียพบว่า ชิ้นเนื้อดังกล่าว เป็นเนื้อของควาย Water buffalo (Bubalus bubalis) เนื่องจากควายไม่ได้อยู่ในบัญชีไซเตสและไม่ได้ขัดต่อกฎหมายไซเตส


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above