241 6.3 อาจถามอัยการล่วงหน้าว่าประเด็นปัญหาที่ต้องการให้เป็นพยานในศาลคืออะไรเพื่อเตรียม ข้อมูลให้พร้อม 6.4 แสดงความเป็นกลางและยึดหลักความรู้และผลการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ และทาง วิชาการเป็นหลักไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัว ไม่คาดคะเนล่วงหน้า และไม่ชี้นำผลของรูปคดี ข้อเสนอแนะโดยภาพรวม ดังนั้นโดยภาพรวมแล้วในระหว่างแหล่ง (ประชากร) ของชนิดพันธุ์ไม้ป่าและพืชป่าที่ได้มีการศึกษา ความหลากหลายทางพันธุกรรมแหล่งใดที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ควรที่จะได้รับการเลือกเป็น ลำดับแรกในการอนุรักษ์ เนื่องจากไม้ป่าและพืชป่าบางชนิดมีอายุที่ยืนยาว ซึ่งไม่เหมือนกับพืชล้มลุกและพืช อายุสั้น เนื่องจากความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สูงและมีการอัตราการผสมข้ามสูงจะช่วยประกันโอกาส ในการให้พันธุ์ไม้ป่านั้นมีโอกาสรอดตายสูงขึ้นอยู่รอดได้มีอายุที่ยืนยาวและมีความต้านทานต่อโรคและแมลง ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมผันแปรตลอดเวลาและไม่สามารถคาดการณ์ได้ (Changtragoon and Szmidt, 1997) หากพบแหล่ง (ประชากร) ใดมีความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำ ก็ ควรจะต้องมีการดำเนินการฟื้นฟูฐานพันธุกรรม โดยการฟื้นฟูป่าและปลูกป่า และหากล่อแหลมต่อการบุกรุก ทำลายก็ควรดำเนินการจัดทำ การอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิด ที่สามารถดูแลให้ปลอดภัย ทั้งนี้การเลือกใช้เครื่องหมายโมเลกุลมาใช้ในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมนั้น ควรใช้ ชนิดที่สามารถศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการปรับตัวร่วมกับข้อมูล ทางนิเวศวิทยาก็จะทำให้โครงการอนุรักษ์ไม้ป่าในแต่ละชนิดที่อยู่ในป่าชนิดต่างๆ ประสบควา มสำเร็จมาก ยิ่งขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดลักษณะด้อย อันเนื่องมาจากการผสมในหมู่เครือญาติ ( Inbreeding depression) ในแหล่งเมล็ดไม้ที่เก็บเพื่อใช้ในการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิดและฟื้นฟูป่าตลอดจนปลูกป่านั้น ควรมีการคัดกรองและตรวจสอบก่อนโดยการประเมินอัตราผสมข้ามโดยการใช้เครื่องหมายไอโซเอนไซม์หรือ ไมโครแซทเทลไลท์ หากไม่สามารถกระทำได้ ก็ควรที่จะเก็บเมล็ดไม้แบบแยกต้นโดยมีการบันทึกแบบแยก ต้น เพื่อนำเมล็ดไม้มาเพาะและทดสอบการงอกและการเจริญเติบโตเพื่อคัดเลือกในการปลูกต่อไป ในการ ปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศควรจะหลีกเลี่ยงการขยายพันธุ์แบบติดตาหรือเสียบยอด เพราะจะเพิ่ม โอกาสที่ได้ต้นพันธุ์ที่ผิด เนื่องจากตาอาจจะเจริญมาจากเหง้า (Rootstock) ไม่ใช่มาจากตาจากต้นพันธุ์ที่ คัดเลือกไว้จึงควรขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำ อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็สามารถใช้เครื่องหมาย ดีเอ็นเอ หรือไอโซเอนไซม์ตรวจสอบความถูกต้องได้ อย่างไรก็ตามการดำเนินการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมป่าไม้ จะประสบความสำเร็จจะต้องให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน ในคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ และเสริมสร้างความตระหนัก ความร่วมมือ ทั้งนี้การ แก้ปัญหาความยากจนให้แก่ประชาชนที่อยู่ในและรอบพื้นที่ป่า โดยการสร้างแรงจูงใจเชิงบวก เพื่อให้ ช่วยกันดูแลรักษาป่าที่ชาวบ้านพึ่งพิงทรัพยากรอยู่ ก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่ง จะทำให้การอนุรักษ์ป่าไม้เป็นไป อย่างยั่งยืนและประสบความสำเร็จ (Changtragoon, 2003b) ผลการพิสูจน์จากกระบวนการวิทยาศาสตร์ดังกล่าว สามารถนำมาใช้ในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่ง เป็นที่ยอมรับในชั้นศาล โดยผู้ต้องหาก็ยอมจำนนต่อหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้บริสุทธิ์
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above