Page 28

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

8 ประกอบเพิ่มเติมผลงานกำลังรอตีพิมพ์อยู่ นอกจากนี้จะต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ต่อไป ในหวายสามารถจำแนกพันธุ์หวาย 9 ชนิดที่มีลักษณะภายนอกใกล้เคียงกันโดยใช้ DNA markersได้ (Changtragoon et al., 1995) นอกจากนี้ยังใช้วินิจฉัยแม่ไม้ที่ถูกขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการเสียบ ยอด ติดตา ปักชำ ในไม้สะเดาไทย ไม้สัก และไม้กระถินณรงค์ที่ถูกนำมาปลูกในแปลงรวมแม่ไม้พันธุ์ดีว่า เป็นแม่ไม้พันธุ์ดีตามที่ได้คัดเลือกมาที่ถูกต้องหรือไม่ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์และผสมข้ามได้อย่าง ถูกต้องต่อไป ส่วนการผสมข้ามพันธุ์แม่ไม้พันธุ์ดีในไม้กระถินณรงค์เพื่อให้ได้ลูกผสมที่มีลักษณะดีตามที่ ต้องการนั้น ได้มีการวินิจฉัยลูกผสม (Hybrids) ที่ได้ว่าต้นใดเป็นลูกผสมที่แท้จริงโดยการใช้ เครื่องหมายไอโซ เอนไซม์ยีน (isoenzyme gene markers) (สุจิตรา และคณะ, 2536; Changtragoon, 1996; Changtragoon and Woo, 1996; Changtragoon, 1997; Changtragoon et al., 1998; Changtragoon, 2000) ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมไม้ป่าได้มีการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้ เครื่องหมายโมเลกุลทางพันธุกรรม (molecular genetic markers) หลายชนิด ดังกล่าวข้างต้นในการ ประเมินสถานภาพแหล่งพันธุกรรมของไม้สนสองใบ ไม้สนสามใบ (Changtragoon and Finkeldey, 1995b; Szmidt et al., 1996a) ไม้สัก (Changtragoon and Szmidt, 1999; Changtragoon and Szmidt, 2000) ไม้สะเดา (Changtragoon et al., 1996a) ไม้ยางนา (สุจิตรา และบุญชุบ, 2542; Changtragoon, 2001b) ไม้เสม็ดขาว (สุจิตรา, 2537) ไม้ตุ้มกว้าว หวาย ปรง (Changtragoon and Finkeldey, 2000) และไม้ โกงกางใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่ (สุจิตรา, 2540; สุจิตรา, 2550) ไม้พะยูง (สุจิตรา และคณะ, 2561; สุจิตรา และคณะ 2562) ไม้ชิงชัน (สุจิตรา และคณะ, 2564; สุจิตรา และกิตติยา 2564) เพื่อใช้เป็น ฐานข้อมูลในการวางแผนและจัดการการอนุรักษ์พันธุกรรม และปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่าและพืชป่าตลอดจนการ ปลูกสร้างสวนป่าดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งการศึกษาวิจัยดังกล่าวข้างต้นรวมทั้งการศึกษาวิจัย อื่นที่เกี่ยวข้องได้สรุปไว้ในตารางที่ 1.3 และ 1.4 การพัฒนาดีเอ็นเอบาร์โค้ดในไม้หลายชนิดดังแสดงในตาราง ที่ 1.5 รายละเอียดสามารถศึกษาเพิ่มเติมจาก Changtragoon et al. (2017) นอกจากนี้ได้สรุปตัวอย่าง การศึกษาพันธุกรรมในไม้ป่าด้วยเครื่องหมายโมเลกุลทางพันธุกรรมเพื่อประยุกต์ใช้งานนิติวิทยาศาสตร์ป่าไม้ ในประเทศต่างๆดังตารางที่ 1.6 จนถึงปัจจุบันการเปรียบเทียบสถานภาพการศึกษาด้านพันธุกรรมและความหลากหลายทาง พันธุกรรมโดยใช้ molecular genetic markers ของแต่ละกลุ่มประเทศในโลก โดยสรุปพอสังเขปในตาราง ที่ 1.7 ซึ่งจะเห็นว่าประเทศไทยได้มีการพัฒนาขึ้นมากกว่าอดีต ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับกลางของการศึกษาวิจัย ด้านนี้อยู่ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะได้มีการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อที่จะ นำไปใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านอนุรักษ์พันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า และการปลูกสร้างสวนป่าให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (สุจิตรา, 2543)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above