17 ตารางที่ 1.7 การเปรียบเทียบสถานภาพการศึกษาพันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ ไม้ป่าของแต่ละกลุ่มประเทศในโลก โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุล ทางพันธุกรรม (molecular genetic markers) ดัดแปลงมาจาก สุจิตรา (2543) กลุ่มประเทศ ระดับการศึกษาและการประยุกต์ใช้ ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ลาตินอเมริกา อาฟริกา ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, จีน, มาเลเซีย ไทย, อินเดีย, ไต้หวัน อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, พม่า ลาว, กัมพูชา ก้าวหน้า ก้าวหน้า ก้าวหน้า เริ่มต้น-กลาง เริ่มต้น-กลาง ก้าวหน้า กลาง เริ่มต้น-กลาง เริ่มต้นโดยความร่วมมือกับประเทศอื่น 1.4 ประโยชน์ของการศึกษาวิจัยพันธุศาสตร์ด้านป่าไม้ระดับโมเลกุล สุจิตรา (2543) ได้ประมวลผลรายละเอียดพอสังเขปที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากการศึกษาวิจัย ด้านพันธุศาสตร์ป่าไม้ระดับโมเลกุลในการศึกษาพันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรมของป่าไม้ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล (Molecular genetic markers) ชนิดต่าง ๆ ได้แบ่งเป็นหัวข้อพอสังเขป ดังต่อไปนี้ 1.4.1 ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic diversity) เนื่องจากไม้ป่าเป็นพืชที่มีอายุยาวนานกว่าพืชเกษตรทั่วๆไปดังนั้นไม้ป่าจะต้องมีความหลากหลาย ทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง เพื่อเป็นการประกันความมีชีวิตรอดภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีความผันแปร ตลอดเวลา (Changtragoon and Szmidt, 1993) ไม่ว่าจะเกิดจากวงจรธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตคือการ ระบาดของโรค และแมลง หรือเกิดจากอิทธิพลของการพัฒนาเทคโนโลยีของมนุษย์ เช่น การสร้างโรงงาน อุตสาหกรรม ทำให้อากาศและน้ำเสียตลอดจนสภาวะเรือนกระจก (Green house effect) และฝนกรด (acid rain) สาเหตุดังกล่าวมีผลต่อความอยู่รอดของไม้ป่า ดังนั้น หากพื้นฐานทางพันธุกรรมของไม้ป่าที่เราคัดเลือก ไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตาม คือมีความ หลากหลายทางพันธุกรรมต่ำ ก็อาจจะทำให้ไม่สามารถอยู่รอดได้ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ผันแปรตลอดเวลา ซึ่งยากต่อการควบคุมและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ (สุจิตรา, 2537; Changtragoon and Szmidt, 1997) การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมได้มีการใช้เครื่องหมายโมเลกุล (Molecular genetic markers) เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ยีน และเครื่องหมายดีเอ็นเอ (isoenzyme gene markers และ DNA
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above