Page 38

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

18 markers) มาใช้ในการศึกษาในไม้ป่าหลายชนิด เช่น ไม้ตระกูลสน (Changtragoon and Finkeldey,1995b; Szmidt and Wang, 1991; 1993; Szmidt et al., 1996a) ไม้ป่าชายเลน (สุจิตรา, 2536ข) ไม้สะเดา (สุจิตรา และคณะ, 2536; Changtragoon et al., 1996a) หวาย (Changtragoon et al., 1995) ไม้พะยูง (สุจิตรา และคณะ, 2561; สุจิตรา และคณะ 2562) ไม้ชิงชัน (สุจิตรา และคณะ, 2564; สุจิตรา และกิตติยา 2564) และไม้ป่าอีกหลายชนิด (สุจิตรา, 2537) ซึ่งข้อมูลและผลการศึกษาทางด้านความหลากหลายทาง พันธุกรรมของพันธุ์ไม้ที่ได้จะสามารถนำไปใช้ประกอบในการพิจารณาวางแผนการอนุรักษ์พันธุกรรม การ ปรับปรุงและการปลูกสร้างสวนป่าในไม้ป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สุจิตรา, 2537; Changtragoon and Szmidt, 1993; 1997; Changtragoon, 2001a; Changtragoon and Finkeldey, 2000) ทั้งนี้ประเทศไทย ยังจำเป็นจะต้องมีการศึกษาวิจัยในพันธุ์ไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและนิเวศวิทยาอีกหลายชนิด 1.4.2 การศึกษาระบบการสืบพันธุ์ (Mating system) - การศึกษาอัตราการผสมตัวเอง (Selfing rate) เมล็ดไม้ที่ได้จากหมู่ไม้ที่มีการผสมตัวเอง (Selfing) หรือผสมระหว่างต้นที่มีลักษณะทางพันธุกรรม ใกล้ชิดกัน (inbreeding) จะมีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ กล้าไม้จะอ่อนไหว (sensitive) ต่อการถูกทำลายจาก โรคและแมลงทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดตายต่ำ นอกจากนี้ ต้นที่รอดตายจะมีการเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้ผลผลิตและปริมาตรเนื้อไม้ต่ำกว่าปกติดังตัวอย่างที่พบ inbreeding depression ในไม้ Picea abies (Langlet, 1940; Eriksson et al., 1973; Hattemer et al., 1993) โดยทั่วไปการศึกษาระบบการสืบพันธุ์ของพันธุ์ไม้ป่ามักจะใช้เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ (isoenzyme markers) ในการตรวจสอบดูว่าไม้ป่าแต่ละชนิดมีอัตราการผสมตัวเอง (selfing rate) เท่าไร ดังการศึกษาใน Scots pine seed orchard โดย Szmidt (1984) พบว่าอัตราผสมตัวเองมี 10.8% และ 16%ใน Pinus sylvestris 16% (Yeh, 1989) ในการศึกษาในไม้สนสองใบ (Pinus merkusii) ซึ่งเป็นไม้สน เขตร้อนที่ขึ้นในประเทศไทย พบว่ามีอัตราของการผสมตัวเองสูงถึง 50% (Changtragoon and Finkeldey, 1995a) ส่วนในไม้สักมีอัตราการผสมตัวเองช่วงระหว่าง 2.5-14.1% (Changtragoon and Szmidt, 1999) ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละต้นและหมู่ไม้ที่ขึ้นในแต่ละท้องที่ ข้อมูลดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการนำไปวางแผนการอนุรักษ์พันธุกรรมและปรับปรุง พันธุ์ไม้ป่าว่า ควรจะเก็บเมล็ดไม้จากต้นหรือหมู่ไม้ไหนอย่างไร เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์ อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถนำไปแนะนำเอกชนในการเก็บเมล็ดไม้ที่ถูกต้องเพื่อ หลีกเลี่ยงการเกิด inbreeding depression ได้ ซึ่งจะได้ต้นไม้ที่นำไปปลูกสร้างสวนป่าที่มีประมาณเนื้อไม้มี สูง ซึ่งคุ้มค่าต่อการลงทุนและผลกำไรสูง -การตรวจเช็คความถูกต้องของ controlled crosses เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ (isoenzyme markers) ได้นำมาใช้ในการตรวจเช็คความผิดพลาด ในการทำ controlled crosses ใน Douglas fir ซึ่งพบความผิดพลาดมากกว่า 30% (Haines, 1994) ใน


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above