Page 46

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

26 ดังสรุปในตารางที่ 2.1 ส่วนการศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างพันธุ์ไม้ในไม้ป่าและพืชป่าบางชนิด ในประเทศไทย ได้สรุปในตารางที่ 2.2 ซึ่งรายละเอียดในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการ ประเมินสถานภาพทรัพยากรพันธุกรรมไม้ป่าหลายชนิดตลอดจนแนวทางการคัดเลือกแหล่งพันธุกรรมเพื่อ การอนุรักษ์ จะกล่าวบทถัดๆ ไป การศึกษาระบบการสืบพันธุ์ (Mating system) ระบบการสืบพันธุ์สามารถศึกษาได้โดยการประเมินอัตราการผสมข้าม สัมประสิทธิ์การผสมพันธุ์ใน หมู่เครือญาติ และการถ่ายเทของยีนโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่มีลักษณะข่มคู่กัน ( Codominant markers) เช่น เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ยีน (Isoengyme gene markers) และเครื่องหมายไมโครเซทเทล์ไลท์ (Microsatellite markers) ตารางที่ 2.3 ได้แสดงให้เห็นถึง การประเมินอัตราการผสมข้ามในป่าเขตร้อน เปรียบเทียบกับไม้ป่าในประเทศไทยที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนิดพันธุ์ อย่างไรก็ตามแม้ภายในชนิดเดียวกัน ก็พบว่ามีความแตกต่างกันในระหว่างแหล่ง (ประชากร) และระหว่างต้นดังแสดงใน ตารางที่ 2.4 และตาราง ที่ 2.5 ซึ่งข้อมูลในการศึกษาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ เพื่อใช้ในการอนุรักษ์ พันธุกรรมไม้ป่า การฟื้นฟูป่า และปลูกป่า ภาพที่ 2.1 ได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะด้อยอันผลมาจากการผสม ตัวเองในหมู่เครือญาติในการผสมตัวเองในไม้ Picea abies ที่มีอายุ 61ปี (Eriksson et al.,1973; Hattemer et al., 1993) ดังนั้นในการหลีกเลี่ยงลักษณะด้อยที่เกิดจากการผสมพันธุ์กันในหมู่เครือญาตินั้น จึงควรคัดเลือก วัสดุพันธุ์ และเมล็ดพันธุ์ก่อนการปลูกป่า โดยการวินิจฉัยว่าต้นใดและแหล่ง (ประชากร) ใดที่มีอัตราผสมข้าม ค่อนข้างสูง เพื่อที่จะทำให้มีความสามารถในการรอดตายเติบโตดีและต้านทานต่อโรคและแมลง รวมถึงการ ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีทางคาดการณ์ได้ในอนาคต ซึ่งรายละเอียดในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ป่าและพืชป่าที่มีคุณค่าทาง เศรษฐกิจและระบบนิเวศน์ของประเทศไทย โดยเป็นตัวแทนของระบบนิเวศและชนิดป่าที่หลากหลายนี้ จะขอกล่าวพอสังเขปในบทถัดๆไป


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above