25 4. เพื่อประเมินระบบการสืบพันธุ์ (อัตราการผสมตัวเองและผสมข้าม) และการถ่ายเทของยีน 5. เพื่อประเมินสถานภาพทรัพยากรพันธุกรรมป่าไม้ เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาการอนุรักษ์ในถิ่น และนอกถิ่นกำเนิด โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าวข้างต้น 6. เพื่อให้การบริหารจัดการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ควรประมวลผลการศึกษาความ หลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลร่วมกับ การศึกษาลักษณะการปรับตัวและนิเวศ ภูมิศาสตร์ (Changtragoon, 2003a) การประยุกต์ใช้เครื่องหมายโมเลกุลเพื่อใช้ในการอนุรักษ์พันธุกรรมของไม้ป่าในประเทศไทย ควรจะดำเนินการ 2 ขั้นตอน กล่าวคือ 1. ควรใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการประเมินสถานภาพของข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมของป่า ที่เคยปลูกเพื่อจัดทำการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิด และแหล่งที่ใช้ในการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิด ซึ่งเคยจัดทำและ ดำเนินการโดยใช้วิธีวนวัฒน์วิจัยดั้งเดิมในไม้ป่าชนิดต่างๆ เพราะการศึกษาดังกล่าวสามารถใช้ในการตรวจสอบ ว่าป่าอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิดที่ปลูกมาจากต้นพันธุ์ (Clones and ramets)ว่าถูกต้องหรือไม่และมีความ หลากหลายทางพันธุกรรมเพียงพอต่อการที่เป็นตัวแทนของแหล่งทางพันธุกรรมชนิดพันธุ์นั้นๆ เพื่อการ อนุรักษ์หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็ต้องมีการสำรวจศึกษาเพิ่มเติม โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลศึกษาและคัดเลือก เพื่อให้ได้ตัวแทนที่เหมาะสม 2. สามารถใช้ในการประยุกต์ในการประเมินสถานภาพทรัพยากรทางพันธุกรรมของชนิดพันธุ์ ที่แปลงอนุรักษ์พันธุกรรมยังไม่ได้จัดตั้งและดำเนินการมาก่อน ซึ่งสามารถดำเนินการโดยศึกษาความผันแปร ทางพันธุกรรมภายในและความหลากหลายทางพันธุกรรมระหว่างแหล่ง (ประชากร) ระบบการสืบพันธุ์และ ถ่ายเทของยีนโดยการศึกษา ที่ใช้เครื่องหมายโมเลกุลดังกล่าว สามารถใช้เป็นแนวทางได้ว่าควรจะเก็บ ตัวอย่างอย่างไรและที่ไหน เพื่อใช้สำหรับการจัดตั้งแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิดและสามารถ วินิจฉัยได้ว่าแหล่งหรือประชากรใดเหมาะที่จะจัดทำเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมในถิ่นกำเนิด อย่างไรก็ตาม ในการที่จะให้ได้ผลเต็มที่ควรจะต้องมีการประมวลผลร่วมกับข้อมูลลักษณะการปรับตัวและการสำรวจนิเวศ ภูมิศาสตร์ด้วย (Changtragoon, 2005) การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity) ในประเทศไทยมีการอนุรักษ์พันธุกรรมในไม้ป่าหลายชนิด ซึ่งได้มีการจัดตั้งแปลงธนาคารยีน (Gene bank) การอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิด (Ex situ gene conservation) และการอนุรักษ์ในถิ่น กำเนิด (In situ gene conservation) ซึ่งมักจะดำเนินการโดยใช้วนวัฒน์วิธีดั้งเดิม เช่น การคัดเลือกแม่ไม้ การทดสอบถิ่นกำเนิด (Provenance trails) หลังจากนั้นการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยการ ใช้เครื่องหมายโมเลกุลทางพันธุกรรม ได้ถูกนำมาใช้ศึกษาพันธุ์ไม้ป่าหลายชนิด เช่น ไม้สัก (Tectona grandis) (Changtragoon and Szmidt, 2000) ไ ม้ส น ( Pinus spp.) (Changtragoon and Finkeldey, 1995a) ไม้ยางนา (Diptercarp alatus) (สุจิตรา และ บุญชุบ, 2542; Changtragoon, 2001b) ไม้โกงกาง เช่น ไม้โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) ไม้โกงกางใบใหญ่ (สุจิตรา, 2550) ไม้พะยูง (สุจิตรา และ คณะ, 2561; สุจิตรา และคณะ 2562) ไม้ชิงชัน (สุจิตรา และคณะ, 2564; สุจิตรา และกิตติยา 2564) เป็นต้น
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above