Page 52

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

32 บทที่ 3 วิธีการพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ (microsatellites markers) ในไม้ป่าพร้อมกรณีศึกษา คำนำ การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการพิสูจน์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของต้นไม้จะต้องใช้ เครื่องหมายดีเอ็นเอที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงซึ่งอยู่ในนิวเคลียส โดยปัจจุบันเครื่องหมายดีเอ็นเอ ที่นิยมใช้คือไมโครแซทเทลไลท์ (microsatellites markers) ซึ่งในบางกรณีไม้บางชนิดที่มีเอกสารทาง วิชาการว่าได้มีการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดนี้แล้วก็สามารถที่จะนำเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดนั้นๆมา ใช้ได้ถ้าเป็นชนิดเดียวกันหรือเป็นสกุลเดียวกันโดยจะต้องนำมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ หากในบางกรณีไม้ บางชนิดไม่มีการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดนี้มาก่อน จึงต้องมีการพัฒนาขึ้นขึ้นมาในห้องปฏิบัตินั้นๆ ใน กรณีนี้จึงขอนำเสนอวิธีการพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ ตามวิธีการของ Pandey (2005) ที่ได้ ประมวลข้อมูลและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอในห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชในไม้ป่าหลายชนิดดังนี้ Microsatellites หรือ Simple Sequence Repeats (SSRs) Pandey (2005) กล่าวว่าไมโครแซทเทลไลท์เป็นส่วนของดีเอ็นเอที่แสดงลำดับนิวคลีโอไทด์ซ้ำ ๆ ทีละ 1-6 นิวคลีโอไทด์ ซึ่งเรียงต่อกันในทิศทางเดียวกันตลอด (Hancock, 1999) เรียกอีกอย่างว่า Short Tandem Repeats (STR) หรือ Simple Sequence Repeats (SSRs) ไมโครแซทเทลไลท์แบ่งออกเป็น mononucleotide (รูปแบบที่มีนิวคลีโอไทด์ซ้ำตัวเดียว), dinucleotide (รูปแบบที่มีนิวคลีโอไทด์ซ้ำ 2 ตัว), trinucleotide (รูปแบบ ที่มีนิวคลีโอไทด์ซ้ำ 3 ตัว) และอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับจำนวนของนิวคลีโอไทด์ไมโครแซทเทลไลท์แบ่งออกเป็นสอง ประเภท คือ 1. แบบต่อเนื่อง (ไมโครแซทเทลไลท์บริสุทธิ์) 2. แบบไม่ต่อเนื่อง (ไมโครแซทเทลไลท์ไม่บริสุทธิ์ แต่ ผสมกับนิวคลีโออื่นๆ ภายในชุดซ้ำ)ไมโครแซทเทลไลท์ส่วนใหญ่พบในบริเวณ non-coding regions (เช่น introns) ของจีโนมและพบได้น้อยมากในบริเวณ coding regions (exons) ของจีโนม (Hancock, 1995) ไมโครแซทเทลไลท์ที่มีความหลากหลายสูงและถูกนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดคือ ไมโครแซทเทลไลท์แบบต่อเนื่อง (Weber, 1990) ในจีโนมของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดจนถึงขณะนี้มีการตรวจพบไมโครแซทเทลไลท์มีความถี่สูงกว่า ที่คาดไว้ (Hancock, 1999) ไมโครแซทเทลไลท์ดูเหมือนจะกระจายอย่างสม่ำเสมอกันทั่วทั้งจีโนม Edwards et al. (1991) ได้ตรวจสอบตำแหน่งไมโครแซทเทลไลท์ในจีโนมของมนุษย์ พวกเขาสังเกตว่าอย่างน้อยใน 1 ชุดซ้ำ ของ SSR จะมีขนาดความยาวอยู่ที่ 300 - 500 กิโลเบส สาเหตุของความแปรปรวนสูงของไมโครแซทเทลไลท์คือ อัตราการกลายพันธุ์ที่สูง อัตราการกลายพันธุ์ในไมโครแซทเทลไลท์จะสูงกว่าเมื่อเทียบกับอัตราการกลายพันธุ์ โดยทั่วไปซึ่งอยู่ในระดับ 10-9-10-10 (Hancock, 1999) Levinson and Gutman (1987) พบว่าจะอยู่ที่ ประมาณ 10-2 ต่อการจำลอง DNA ใน E. coli และ Weber and Wong (1993) พบว่าอยู่ที่ประมาณ 10-3


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above