33 ต่อตำแหน่งและในแต่ละชั่วรุ่นของมนุษย์ ในแมลงหวี่พบอัตราการกลายพันธุ์ที่ค่อนข้างต่ำกว่าคือประมาณ 6x10-6 (Schug et al., 1997) โดยทั่วไปอัตราการกลายพันธุ์ของลำดับไมโครแซทเทลไลท์คือประมาณ 10-3 - 10-5 ต่อตำแหน่งและต่อรุ่น (Edwards et al. 1992; Schlötterer and Tautz, 1992; Bowcock et al., 1994; Forbes et al., 1995) Microsatellites ดูเหมือนจะมีอยู่ในพืชน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสัตว์มีกระดูกสันหลัง (Lagercrantz et al., 1993) ในแง่ของประเภทชุดซ้ำ dinucleotide repeat (GT)n ถูกพบบ่อยที่สุดใน จีโนมของมนุษย์และดูเหมือนจะพบยากที่สุดในจีโนมของพืช ในขณะที่ (AT)n จะถูกพบมากที่สุดในพืช (Lagercrantz et al., 1993; Pandey, 2005) การพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ (SSRs) การพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลต์ Pandey (2005) ได้ใช้วิธีการที่พัฒนาโดย Fischer and Bachmann (1998) ทั้งนี้ได้สรุปขั้นตอนการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์ (microsatellites markers) มีวิธีการ 13 ขั้นตอนดังนี้ คือ 1. การสกัดดีเอ็นเอ 2. การย่อยจีโนมิกดีเอ็นเอ 3. การเชื่อมต่อเส้น ดีเอ็นเอกับ adapters 4. การ hybridization ของโพรบโอลิโกนิวคลีโอไทด์ 5. การแยกด้วยแม่เหล็ก 6. การ ชะล้าง 7. การเพิ่มปริมาณ PCR 8. การโคลนเข้าสู่ plasmid vector 9. การถ่ายสารพันธุกรรมเข้าสู่ Bacterial 10. Colony PCR 11. การหาลำดับดีเอ็นเอในโคโลนี 12. ออกแบบไพรเมอร์ และ 13. การ ทดสอบไพร์เมอร์ (ภาพที่ 3.1) รายละเอียดการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์ศึกษาได้ จาก Pandey (2005) โดยวิธีการดังกล่าวข้างต้นได้นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด ไมโครแซทเทลไลท์ในไม้ป่า คือ ไม้พะยูง 10 ตำแหน่ง (สุจิตรา และคณะ 2552) ไม้สะเดา 11 ตำแหน่ง (Boontong et al., 2009) ไม้มะขามป้อม (Pandey and Changtragoon, 2012) โดยขอยกการพัฒนา เครื่องหมายดีเอ็นเอในไม้พะยูงเป็นกรณีศึกษา ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above