Page 58

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

38 สรุปผลการศึกษาวิจัยและวิจารณ์ การพัฒนาไมโครแซทเทลไลท์ไม้พะยูงโดยการหาลำดับเบสจากทั้งหมด 80 clones พบส่วนที่เป็น ไมโครแซทเทลไลท์ทั้งหมด 55 clones สามารถออกแบบไพรเมอร์ได้ 42 คู่ และจากการทดสอบคู่ไพรเมอร์ ทั้ง 42 คู่ ในเบื้องต้นพบว่า มี 10 คู่ไพรเมอร์ที่มี polymorphism ตำแหน่งที่ให้อัลลีลต่ำสุดคือ 2 อัลลีล และ ตำแหน่งที่ให้อัลลีลสูงสุดคือ 5 อัลลีลโดยมีค่าเฉลี่ยของอัลลีลเท่ากับ 3.5 อัลลีลต่อตำแหน่ง (สุจิตรา และ คณะ 2552) อย่างไรก็ตาม ในไม้ชนิดอื่นที่มีการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์แล้ว เช่น ไม้สัก ได้ดำเนินการทดสอบเครื่องหมายดีเอ็นเอแล้ว จำนวน 10 ตำแหน่ง (Verhaegen et al., 2005) ไม้ประดู่ จำนวน 12 ตำแหน่ง (Li et al., 2010) และไม้ชิงชัน จำนวน 7 คู่ (Hartvig et al., 2017) ซึ่งข้อมูล ดังกล่าวสามารถนำมาใช้ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม และลายพิมพ์ดีเอ็นเอได้ ส่วนในไม้ที่ไม่เคยมีการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์มาก่อนจะต้องใช้เวลา อย่างน้อย 1 ปี ค่าใช้จ่ายประมาณ 400,000 บาท แต่ในปัจจุบันสามารถจ้างให้บริษัทพัฒนาเครื่องหมาย ดีเอ็นเอชนิดนี้ได้โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 บาท/ชนิดพืช/ชนิดเครื่องหมายดีเอ็นเอ ในกรณีที่มี การศึกษาตัวอย่างชนิดไม้ที่มีความใกล้เคียงกันมาแล้วก็สามารถนำมาใช้ได้


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above