39 บทที่ 4 การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมในไม้สนสองใบ (Pinus merkusii) โดยใช้เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ยีน คำนำ ไม้สนสองใบ (Pinus merkusii) เป็นไม้สนเขาเพียงหนึ่งในสองชนิดของประเทศไทยเท่านั้นที่ขึ้นตาม ธรรมชาติ (Cooling, 1968) ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและนิเวศวิทยาของประเทศไทยอย่างมาก ทั้งนี้เพราะมีเนื้อเยื่อ(Fibers) ยาวและมีคุณภาพดี เหมาะต่อการทำเนื้อเยื่อกระดาษ (FAO/UNDP, 1968) นอกจากนี้ยังมียาง Resin และเนื้อไม้ที่สวยงามเหมาะต่อการทำอุตสาหกรรมก่อสร้างและเครื่องเรือนแต่ เนื่องจากไม้สนสองใบมีปัญหาในเรื่องการเจริญเติบโตในช่วงระยะแรกคือมี Grass stage ประกอบกับปัญหา ในการเพาะกล้าไม้ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ และเก็บเมล็ดไว้ได้ไม่นาน นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องไฟและน้ำ ท่วม ตลอดจนปัญหาการบุกรุกทำลาย ลักลอบตัด และเจาะยางสนจากไม้สนสองใบเป็นจำนวนมาก อย่างน่า เป็นห่วง (Sa-ardavut et al., 1988) แม้ว่าโครงการ DANIDA จากรัฐบาล เดนมาร์คได้ให้ความช่วยเหลือใน การคัดเลือกพันธุ์โดยการทำแปลงทดลองถิ่นกำเนิดนานาชาติ (International provenance trials) ปี 1970 และการอนุรักษ์ยีนในถิ่นกำเนิด (In situ gene conservation) ปี 1979 ไม้สนสองใบในสถานะปัจจุบันซึ่ง อยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วงอยู่ เพราะไม้สนสองใบในแหล่งธรรมชาติได้ลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ ตลอดจนการผลิต เมล็ดไม้ก็ลดลงไปมาก ซึ่งไม่พอต่อการรองรับการปลูกสร้างสวนป่าในปัจจุบันและอนาคต ถ้าจะให้มีปริมาณ เมล็ดไม้สนสองใบตามที่ Pausajja et al. (1988) ได้เคยประเมินไว้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น Changtragoon and Finkeldey (1995a) จึงได้ศึกษาความ หลากหลายทางพันธุกรรมในไม้สนสองใบเพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์ยีนไม้สนสองใบ โดยการใช้ เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ยีน (Isoenzyme gene marker) เป็นตัวช่วยวินิจฉัยว่าการที่เมล็ดไม้สนสองใบมี เปอร์เซ็นต์การงอกต่ำมีผลมาจากการเกิดการผสมตัวเองหรือไม่ (Selfing) และระบบสืบพันธุ์ (Mating system ) เป็นอย่างไร จะได้ช่วยในการปรับปรุงการผสมข้ามให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถอาศัยข้อมูล ของความถี่ของยีน (Allele frequency) ในการวินิจฉัยแหล่งที่มา (Provenances) ได้และความผันแปรทาง พันธุกรรม (Genetic variation) ในการวินิจฉัยว่าเมล็ดไม้สนสองใบ ควรจะเก็บอย่างไร และจากท้องที่ไหน เพื่อนำไปปลูกสร้างสวนป่าและการอนุรักษ์ยีนต่อไป วัสดุและวิธีการศึกษาวิจัย Changtragoon and Finkeldey (1995a) ได้เก็บเมล็ดสนสองใบจาก 11 แหล่ง(ประชากร) ที่ กระจายตามป่าธรรมชาติทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเก็บจำนวน 8 - 30 แบบ สุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากร บางประชากรมีน้อย เช่น ที่หมู่บ้านภูมินิยม จังหวัดสุรินทร์ มีความ หนาแน่นของประชากรต่ำจึงต้องเก็บเมล็ดต่อต้นเพิ่มขึ้นจากแหล่งอื่น จาก 6 เมล็ดต่อต้น เป็น 15 เมล็ดต่อ ต้น ดังแสดงตามตารางที่ 4.1 เมื่อได้เมล็ดมาแล้วได้นำมาแยก Embryo และ Endosperm เพื่อศึกษา
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above