Page 60

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

40 ไอโซเอนไซม์ 11 ระบบ โดยวิธี Horizontal starch gel electrophoresis ซึ่งดัดแปลงจากวิธีการของ Changtragoon and Finkeldey (1995b) ซึ่งสามารถวินิจฉัยไอโซเอนไซม์ยีน ได้ 17 ตำแหน่ง ดังแสดงใน ตารางที่ 4.2 เมื่อได้ข้อมูลจากการศึกษาแล้วนั้นได้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม BIQSYS (Swofford and Selander, 1981) และ GSED (Gillet, 1994) เพื่อใช้วิเคราะห์ความหลากหลาย ทางพันธุกรรม และใช้ MLT Computer program (Ritland and Jain, 1981; Ritland, 1990) เพื่อใช้ ประเมินอัตราการผสมข้าม ผลการศึกษาวิจัยและวิจารณ์ ในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมในไม้สนสองใบ 11 แหล่ง (ประชากร) ในประเทศไทย โดยการใช้ไอโซเอนไซม์ยีน (Isoenzyme gene) 14 ตำแหน่ง (Loci) Changtragoon and Finkeldey (1995a) พบว่ามีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ต่ำคือมีแค่ 5.8เปอร์เซ็นต์ (He=0.058) อย่างไรก็ตาม ไม้สนสองใบที่ห้วยทา จังหวัดศรีสะเกษมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงที่สุด ดังแสดงในตาราง 4.3 ส่วนความแตกต่างของยีนระหว่างแหล่งก็มีค่าต่ำเช่นกัน (d=0.034) แต่ถ้าวัดสัดส่วนของความแตกต่างทาง พันธุกรรมระหว่างแหล่งเมื่อเทียบกับความผันแปรทางพันธุกรรมทั้งหมดทุกแหล่งมี 10.4 เปอร์เซ็นต์ (Fst=0.104) ดังแสดงในตารางที่ 4.4 และภาพที่ 4.1 ส่วนผลการวิเคราะห์ค่าของความสมดุลของประชากร (Hardy-Weinberg expectations) นั้นโครงสร้างทางพันธุกรรมของเมล็ดสนที่เก็บมาศึกษานั้นพบว่ามีค่า ของเฮทเทอโรไซโกต (Heterozygotes) มีค่าต่ำกว่าค่าความสมดุลของประชากรในเกือบทุกแหล่ง (ประชากร) ในขณะที่จากการศึกษาในตัวอย่างที่มาจากต้นสนสองใบในแต่ละแหล่ง (ประชากร)พบว่าไม่มี ความแตกต่างจากค่าของสมดุลของประชากร (Changtragoon and Finkeldey, 1995a) สำหรับการประเมินอัตราการผสมข้ามจากไม้สนสองใบ 9 ใน 10 แหล่ง (ประชากร) พบว่า มีอัตรา การผสมตัวเองค่อนข้างสูง (0.017 < tm < 0.65) ดังแสดงในตารางที่ 4.5 ทั้งนี้อาจเนื่องจากการที่มีจำนวน ต้นของไม้สนสองใบส่วนใหญ่ในแต่ละแหล่ง (ประชากร) มีอยู่น้อยประกอบกับมีอายุค่อนข้างมากทำให้ ข้อจำกัดในการออกดอก ทำให้โอกาสที่ดอกจะออกพร้อมกันจึงมีน้อย จึงอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ไม้สนสองใบมีค่าสัมประสิทธิ์การผสมในหมู่เครือญาติ (Inbreeding coefficient) ค่อนข้างสูง นั่นก็คือ มีอัตราการผสมตัวเองสูงนั่นเอง (Changtragoon and Finkeldey, 1995a)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above