Page 66

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

46 ข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์พันธุกรรมไม้สนสองใบ จากพื้นฐานผลจากการศึกษาวิจัยดังกล่าวข้างต้น จึงได้เสนอแนะให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรทาง พันธุกรรมของไม้สนสองใบ (P. merkusii) อย่างมีประสิทธิภาพในการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิด (In situ conservation) ที่แหล่ง (ประชากร) ห้วยทา จังหวัดศรีสะเกษ เนื่องจากมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ที่สุดเมื่อเทียบกับแหล่งอื่นและควรคัดเลือกแหล่งสำหรับการอนุรักษ์พันธุกรรมในถิ่นกำเนิดสำหรับภาค ตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สูงลดลงมา เช่น ที่แหล่ง (ประชากร) หมู่บ้าน หนองคู จังหวัดสุรินทร์และอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และแหล่ง (ประชากร) ที่อยู่ทางภาคเหนือ เช่น หมู่บ้านวัดจันทร์ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากการอนุรักษ์พันธุกรรมในถิ่นกำเนิดควรมีการอนุรักษ์นอกถิ่น กำเนิดด้วยข้อดีในการดำเนินการดังกล่าวนั้น เนื่องจากการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิดจะทำให้บริหารจัดการง่าย และช่วยทำให้มีการปลูกป่าไม้สนสองใบนอกถิ่นกำเนิดที่มีอายุใกล้เคียงกัน และมีความหนาแน่นของต้นสูง จึงทำให้เพิ่มโอกาสที่ทำให้มีการออกดอกพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้อัตราการผสมตัวเองลดลงกว่าในพื้นที่ ธรรมชาติดังเดิมที่มีอายุมากแล้ว ดังนั้นจึงขอแนะนำดังนี้คือ ควรจัดทำแปลงอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิด 3-6 แปลง อย่างน้อยควรมีหนึ่งแปลงในแต่ละภูมิภาคที่มีการกระจายพันธุ์ทางธรรมชาติของ ไม้สนสองใบขึ้น กล่าวคือในภาคเหนือ ภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือในการเก็บเมล็ดไม้สนสองใบนั้นควรเก็บจาก ประมาณ 20 ต้น จาก 3 แหล่ง (ประชากร) ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เนื่องจากไม้สนสองใบมีความหลากหลาย ทางพันธุกรรมค่อนข้างต่ำ ดังนั้นจำนวนที่กล่าวถึงจะมีข้อมูลและฐานทางพันธุกรรมที่เพียงพอสำหรับการ อนุรักษ์ไม้สนสองใบนอกถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ซึ่งเมล็ดจากภูมิภาคเดียวกันควรเก็บโดยสุ่มที่เป็นตัวแทน ของภูมิภาคและนำมารวมกันอย่างทั่วถึง (Bulked) และปลูกเป็นแปลงปลูกนอกถิ่นกำเนิดที่มีขนาดแต่ละ แปลง 6.25 ไร่ (1 เฮกเตร์) ซึ่งควรทำ 2 แห่ง ที่ง่ายต่อการปกป้องดูแลในแต่ละภูมิภาค ดังนั้นเมื่อรวมทุก ภูมิภาคแล้วควรปลูกป่าเพื่อทำเป็นแปลงอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิด รวมทั้งหมด 37.5ไร่ (6 เฮกเตร์) (Changtragoon and Finkeldey, 1995a)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above