Page 67

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

47 บทที่ 5 การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้สัก (Tectona grandis) 5.1 การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้สักในประเทศไทย โดยการใช้เครื่องหมายไอโซ เอนไซม์ยีน คำนำ ไม้สัก (Tectona grandis) เป็นไม้เขตร้อนที่ผลัดใบ ซึ่งมีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในเขต ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว และอินโดนีเซีย (ส่วนใหญ่บนเกาะชวา แต่สันนิษฐานว่าเป็นป่าปลูกในอดีต) เนื่องจากความต้องการไม้สักมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ได้มีการนำเอาไม้สักไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเขต ร้อน และกึ่งเขตร้อนหลายประเทศ (Kaosa - ard, 1986) ในประเทศไทยไม้สักมีการกระจายพันธุ์ตาม ธรรมชาติในท้องที่ภาคเหนือ เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ และตาก และภาคกลาง ในจังหวัดกาญจนบุรี อย่างไรก็ตามพื้นที่ที่มีไม้สักขึ้นได้ถูกทำลายไปมาก (Kjaer et al., 1996) ทำให้ต้องมีการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมของไม้สักไว้ ดังนั้นการที่จะอนุรักษ์พันธุกรรมของไม้สักให้มี ประสิทธิภาพ ควรที่จะทราบพื้นฐานพันธุกรรมของไม้สักก่อน ดังนั้น Changtragoon and Szmidt (1999) จึงได้ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและโครงสร้างทางพันธุกรรมของไม้สักเพื่อเป็นพื้นฐานในการวาง แผนการอนุรักษ์พันธุกรรมไม้สักให้อย่าง มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งรายละเอียดการศึกษาดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ วัสดุและวิธีการศึกษาวิจัย Changtragoon and Szmidt (1999) ได้สำรวจและเก็บตัวอย่างผลไม้สัก (Tectona grandis) แบบสุ่ม 11 แหล่ง (Population) จากป่าธรรมชาติในทางภาคเหนือและภาคกลางของประเทศ เช่น ในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ ตาก อุตรดิตถ์ และกาญจนบุรี ดังแสดงในตารางที่ 5.1.1 การศึกษาไอโซเอนไซม์ (Isoenzyme analysis) เมล็ดได้ถูกคัดแยกออกจากผลเป็นจำนวน 40 เมล็ดต่อแหล่ง และสกัดเอนไซม์จากเมล็ดแต่ละเมล็ด ในบัฟเฟอร์ (Homogenizing buffer) และจุ่มในกระดาษกรองและนำไปแยกโมเลกุลของเอนไซม์ในแผ่น แป้ง (Starch gel) ในเครื่องอิเล็คโตรฟอเรซีสแบบแนวนอน (Horizontal electrophoresis) เป็นเวลา 4 - 5 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำแผ่นแป้งไปตัดแผ่นบางประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร แล้วนำไปย้อมสีสำหรับ enzymes ชนิดต่างๆ ตามตารางที่ 5.1.2 ดังวิธีการของ Conkel et al. (1982); Changtragoon and Finkeldey 1995b; Changtragoon et al. (1996a)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above