49 ตารางที่ 5.1.2 รายชื่อของระบบไอโซเอนไซม์ที่ใช้ในการศึกษา ระบบของไอโซเอนไซม์ ( Isoenzyme system ) อักษรย่อ ( Abbreviation ) รหัสของเอนไซม์ ( Enzyme code ) 1. Leucine aminopeptidase 2. Glutamate-oxaloacetate transaminase 3. Glutamate dehydrogenase 4. Isocitrate dehydrogenase 5. 6-Phosphogluconate dehydrogenase 6. Phosphoglucomutase 7. Malate dehydrogenase 8. Glucose 6-phosphate dehydrogenase 9. Diaphorase 10. Formate dehydrogenase 11. Shikimate dehydrogenase 12. NDH-dehydrogenase 13. Phosphoglucose-isomerase LAP GOT GDH IDH 6-PGDH PGM MDH G-6PDH DIA FDH SKDH NDH PGI 3.4.11.1 2.6.1.1 1.4.1.3 1.1.1.42 1.1.1.44 2.7.5.1 1.1.1.37 1.1.1.49 1.1.4.3 1.6.99.3 1.1.1.25 1.6.99.1 5.3.1.9 ที่มา: Changtragoon and Szmidt, 1999 การคำนวณทางสถิติ (Statistical analysis) ศึกษาภาพแบบของเอนไซม์ที่ปรากฏบนแผ่นแป้งที่ได้ย้อมสีแล้ว เพื่อแปรเป็นลักษณะทาง พันธุกรรมของตัวอย่างเมล็ดแต่ละเมล็ดและแต่ละแหล่ง การคำนวณทางสถิติได้ใช้คำนวณหาความถี่ ของยีน ความหลากหลายทางพันธุกรรม ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่ง โดยใช้ BIOSYS Computer program (Swofford and Selander, 1981) และ TFPGA Computer program (Miller, 1997) ผลการศึกษาวิจัยและวิจารณ์ จากการศึกษาไอโซเอนไซน์ 13 ระบบ (Systems) โดย Changtragoon and Szmidt (1999) สามารถวินิจฉัย Putative Isoenzyme genes ได้14 ตำแหน่ง ตามตารางที่ 5.1.3 ซึ่งพบว่า GOT-3,PGM- 1,MDH-1,IDH-1,G6P-1,6PD-2 เป็น Polymorphic loci ส่วน GOT-1,GOT-2,MDH-3,FDH-1,DIA-1,DIA- 2,NDH-1 เป็น Monomorphic loci จำนวนอัลลีล (Allele) สูงสุดต่อตำแหน่งของยีน (Maximum alleles per locus) มีอยู่ 3 อัลลีล (Allele) ซึ่งความถี่ของยีนในแต่ละตำแหน่งในแต่ละแหล่ง (ประชากร) ได้แสดงใน ตารางที่ 5.1.4 ส่วน Polymorphic loci ของไม้สักแต่ละแหล่งได้แสดงในตารางที่ 5.1.5 ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 - 28.6 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะไม้สักที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนและโปงสาลี จังหวัดเชียงราย มี Polymorphic loci สูงสุดโดยมีค่า 28.6 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรองลงมาคือ ตำบลสะเอียบ จังหวัดแพร่ มีค่า 21.4 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแหล่งไม้สักที่เหลือมีค่า 7.1 เปอร์เซ็นต์ และการศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรม ระหว่างแหล่งไม้สัก (Theta P) พบว่ามีค่า 0.028 (3 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งนับว่าไม่สูงนักแต่ก็สอดคล้องกับ การศึกษาของ Kjaer and Suangtho, (1995) ซึ่งศึกษา Isoenzyme genetic variation กับไม้สักจาก หลายประเทศในเอเชีย และแอฟริกา ซึ่งมีค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่ง (Fst = 0.038) ส่วน
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above