50 ไม้สักที่ถ้ำผาไท จังหวัดลำปาง ไม่มี Polymorphic loci เลย ในตารางที่ 5.1.6 และภาพที่ 5.1.1ได้แสดง ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่ง เมื่อเทียบกับไม้สักแหล่งอื่น อย่างไรก็ตาม Kertardikara and Prat (1995) ได้ศึกษา Isoenzyme variation จากไม้สักหลาย แหล่งโดยเปรียบเทียบกับไม้สักจากประเทศไทย อินโดนีเซีย Ivory cost และ Tanzania พบว่ามีค่า Fst = 0.12 ซึ่งนับว่ามีค่าความแตกต่างระหว่างแหล่งสูงกว่า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะได้ใช้ Polyacrylamide gel electrophoresis ซึ่งต่างจากการศึกษาครั้งนี้และของ Kjaer and Suangtho (1995) ที่ใช้ Starch gel electrophoresis และใช้ Isoenzyme systems ที่ต่างกัน และจำนวน loci ที่ศึกษาก็มากกว่า และ เปรียบเทียบกับแหล่งที่มีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์มากกว่า จึงทำให้ค่าความแตกต่างทางพันธุกรรม ระหว่างแหล่งมีค่าสูงกว่า ซึ่งคาดว่าการศึกษาในระดับ DNA ของการศึกษาไม้สักในประเทศไทยน่าจะได้ค่า ความแตกต่างทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงขึ้นกว่าการศึกษาครั้งนี้ ตารางที่ 5.1.3 ตำแหน่งของยีนและจำนวนสูงสุดของอัลลีลต่อตำแหน่งของยีนที่ศึกษาในแหล่ง (ประชากร) ของไม้สัก (Tectona grandis) ที่มา: Changtragoon and Szmidt, 1999 ตำแหน่งของยีน จำนวนสูงสุดของอัลลีลต่อตำแหน่งของยีน GOT-1 1 GOT-2 1 GOT-3 2 PGM-1 2 MDH-1 3 MDH-3 1 IDH-1 2 FDH-1 2 DIA-1 1 DIA-2 1 G6P-1 3 6PD-2 3 NDH-1 1 NDH-2 1
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above