Page 75

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

55 5.2 การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้สักในประเทศไทยโดยใช้เครื่องหมาย อาเอพีดี (Randomly Amplified Polymorphic DNA (RAPD)) คำนำ ไม้สัก (Tectona grandis Linn. F.) เป็นไม้ผลัดใบในป่าเขตร้อน กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในประเทศ อินเดีย พม่า ไทย ลาว และอินโดนีเซีย (ยังไม่แน่ชัดนักว่าเป็นป่าธรรมชาติ) (Kaosa-ard, 1991; White, 1991) ซึ่งไม้ สักในประเทศไทยมีการกระจายพันธุ์ไปทางภาคเหนือและภาคกลางในจังหวัด กาญจนบุรี ไม้สักถือว่าเป็นแหล่งของ ไม้ที่นำมาใช้ประโยชน์ใช้สอยที่ดีที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ซึ่งความต้องการที่สูงทำให้ไม้สักถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่าง มากทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ทำให้จำนวนของไม้สักในป่าธรรมชาติลดลงไปมาก ดังนั้นการที่จัดการแหล่ง พันธุกรรมของไม้สักที่เหลืออยู่ จึงจำเป็นที่จะต้องทราบพื้นฐานทางพันธุกรรมของไม้สักของประเทศไทยว่าความ หลากหลายทางพันธุกรรมเป็นอย่างไรในแต่ละแหล่ง (ประชากร) ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ Randomly Amplified Polymorphic DNA (RAPD) markers มาใช้ในการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้สักในประเทศไทย เพิ่มเติมจากที่เคยศึกษาโดยใช้เครื่องหมายไอโซเอนไซม์มาก่อนหน้านี้ (Changtragoon and Szmidt 2000) วัสดุและวิธีการศึกษาวิจัย Changtragoon and Szmidt (2000) ได้เก็บกิ่งของไม้สักจำนวน 18 - 45 ต้นต่อแหล่ง (Population) จาก 15 แหล่ง (ประชากร) ในท้องที่ทางภาคเหนือและภาคกลางของประเทศ (ตารางที่ 5.2.1) เพื่อนำมาปักชำ เพื่อให้แตกตาและใบอ่อน ตารางที่ 5.2.1 ชื่อของแหล่ง (ประชากร) ไม้สัก (Tectona grandis) ที่ศึกษา หมายเลขประชากร ชื่อแหล่ง(ประชากร) จังหวัด (Population no.) (Population name) (Province) 1 สวนรุกขชาติโป่งสลี อ.เมือง เชียงราย 2 อุทยานแห่งชาติแม่ยม แพร่ 3 อ.เชียงดาว เชียงใหม่ 4 อ.ฮอด เชียงใหม่ 5 หมู่บ้านบ้านใหม่ อ.แม่ทะ ลำปาง 6 อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทย ลำปาง 7 ดอยประตูผา อ.งาว ลำปาง 8 อ.แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน 9 อุทยานแห่งชาติลานสาง 1อ.เมือง ตาก 10 อุทยานแห่งชาติลานสาง 2 อ.เมือง ตาก 11 อุทยานแห่งชาติแม่เมย 1 ตาก 12 อ. น้ำปาด อุตรดิตถ์ 13 อ.เทพนิมิต อุตรดิตถ์ 14 หมู่บ้านแก่งปะลอม อ.ไทรโยค กาญจนบุรี 15 หมู่บ้านวังน้ำวน อ.ไทรโยค กาญจนบุรี ที่มา: Changtragoon and Szmidt, 2000


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above