Page 77

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

57 ค่าตั้งแต่ 27.4 เปอร์เซ็นต์ - 92.2 เปอร์เซ็นต์ ดังแสดงในตารางที่ 5.2.2 ส่วนค่าของ Gene diversity ก็มีค่าสูง เช่นกัน คือมีค่าตั้งแต่ 0.110 - 0.373 ในทางตรงกันข้ามพบว่าระดับของ Polymorphism ใน Allozyme จาก ตัวอย่างของแหล่ง (ประชากร) ที่ศึกษาในชุดเดียวกันมีค่าต่ำกว่ามาก (Changtragoon and Szmidt, 1997; Changtragoon and Szmidt, 1999) ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าสามารถศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมจาก RAPD ใน genome ของไม้สักได้ทั่วถึงมากกว่า Allozyme ซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะยีนที่ Code proteins เท่านั้น ส่วน ความแตกต่างทางพันธุกรรมของไม้สักแต่ละแหล่ง (ประชากร) ในการศึกษาครั้งนี้มีค่า 21 เปอร์เซ็นต์ (Theta p = 0.21) ในการศึกษา genetic variation ในไม้สักในอดีตได้มีการศึกษาใน Allozyme เท่านั้น ( Kertardikara and Prat 1 9 9 5 ; Kjaer and Seigismund, 1 9 9 6 ; Kjaer et al., 1 9 9 6 ; Kjaer and Suangtho, 1995) ซึ่ง Kjaer et al. (1996) ได้ศึกษา Genetic variation ในไม้สักในเอเซีย ซึ่งพบว่ามีค่า ความแตกต่างระหว่างแหล่ง (ประชากร) น้อยกว่าการศึกษาครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม Kertardikara and Prat (1995) ได้ศึกษาไม้สักในประเทศไทย อินเดีย และอินโดนีเซีย ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างทางพันธุกรรม ระหว่างแหล่งสูงกว่าของ Kjaer et al. (1996) แต่ก็ยังน้อยกว่าการศึกษาครั้งนี้จากการศึกษาครั้งนี้ได้ ชี้ให้เห็นว่าป่าธรรมชาติของไม้สักมีความแตกต่างทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถที่จะนำมา ประกอบการวางแผนและจัดการแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์เพื่อการจัดการป่าไม้สักอย่าง ยั่งยืนต่อไป (Changtragoon and Szmidt, 2000)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above