Page 80

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

60 บทที่ 6 การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus) 6.1 การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ยางนาในป่าธรรมชาติเทียบกับป่าปลูกโดยใช้ เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ยีน คำนำ ไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus) เป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบชายลำธารในป่าดิบ ทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย 200-600 เมตร มีลักษณะการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ประเทศบังคลาเทศตอนใต้ของพม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม สำหรับการกระจายพันธุ์ใน ประเทศไทยนั้น ไม้ยางนาสามารถขึ้นอยู่ทุกภาคของประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และกระจัดกระจายทั่วไปในป่าสองข้างถนนสายลำพูน - ตาก- กำแพงเพชร และจากกำแพงเพชร - นครสวรรค์ ยางนาสามารถกระจัดกระจายอยู่ทั้งสองฝั่งถนน และมีมากในจังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี ปัจจุบันนี้มีปริมาณลดน้อยลงอย่างมากเนื่องมาจากการจัดสรรที่ดิน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบทั่วไปใน จังหวัดเลย ขอนแก่น และนครราชสีมา ในภาคกลางขึ้นอยู่ทั่วไปแถบจังหวัดสระบุรีและกาญจนบุรี ในภาค ตะวันออกสามารถขึ้นอยู่ได้ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี และตราด ในภาคใต้พบที่จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง (ธิติ และคณะ, 2536) อย่างไรก็ตามข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมของไม้ยางนายังไม่มีมาก่อน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ สุจิตรา และบุญชุบ (2542) ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ยางนาในเบื้องต้น โดยใช้ Isoenzyme gene markers เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ ไม้ยางนาของประเทศ ไทยในอนาคตต่อไป วัสดุและวิธีการศึกษาวิจัย สุจิตราและบุญชุบ (2542) ได้เก็บเมล็ดไม้ยางนาจาก 4 แหล่งในประเทศไทย โดยมีจากป่าธรรมชาติ 2 แหล่ง คือจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดศรีสะเกษ ส่วนป่าปลูกจากจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดตรัง ดังแสดงในตารางที่ 6.1.1 ได้ถูกเก็บมาศึกษา โดยนำเอา Embryo หรือ ใบอ่อนจากกล้าไม้ที่เพาะจากเมล็ดของ แต่ละแหล่งมาสกัด Crud enzyme เพื่อศึกษา Isoenzyme 13 Systems ดังแสดงในตารางที่ 6.1.2 โดยวิธี Horizontal starch gel electrophoresis ซึ่งดัดแปลงมาจากวิธีการของ Changtragoon and Finkeldey (1995b) และ Changtragoon et al. (1996a) เมื่อได้ข้อมูลทางพันธุกรรมของไม้ยางนาแต่ละแหล่งจาก Isoenzyme gene แต่ละตำแหน่งแล้วจึงนำมาคำนวณหาความถี่ของยีน (Allelic frequency), ความ แตกต่างและหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic differentiation and diversity) โดยวิธีการของ Nei (1978) และ BIOSYS-1 Computer program ของ Swofford and Selander (1981)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above