Page 85

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

65 ภาพที่ 6.1.1 ความแตกต่างทางพันธุกรรมและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus) 4 แหล่ง (ประชากร) (ที่มา: สุจิตราและบุญชุบ, 2542) 6.2 การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ยางนาในประเทศไทยโดยใช้ เครื่องหมาย ไอโซเอนไซม์ยีน คำนำ ไม้ยางนาเป็นไม้ป่าเขตร้อนที่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งมีค่าทาง เศรษฐกิจ และระบบนิเวศซึ่งได้กล่าวรายละเอียดไปในหัวข้อ 6.1 ในการศึกษาความหลากหลายทาง พันธุกรรมครั้งนี้ Changtragoon (2001b) ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมจากหัวข้อ 6.1 โดยศึกษาในไม้ยางนา 16 แหล่ง (ประชากร) ดังตารางที่ 6.2.1 ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ของ ประเทศไทย โดยการใช้เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ยีน (Isoenzyme gene markers) ซึ่งวิธีการศึกษา ดำเนินการเช่นเดียวกับหัวข้อ 6.1 ผลการศึกษาวิจัยและวิจารณ์ Changtragoon (2001b) พบว่าผลการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมเฉลี่ยมีค่าระดับปาน กลาง (He=0.092) เมื่อเทียบกับการศึกษาในไม้ป่าชนิดอื่น โดยแต่ละแหล่งมีความหลากหลายทางพันธุกรรม แตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 6.2.2 และมีความแตกต่างระหว่างแหล่ง (ประชากร) ค่อนข้างสูง (Fst=0.128) อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่งนั้นมีค่าน้อยกว่าการศึกษาของสุจิตรา และบุญชุบ (2542) ที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ 6.1 ทำให้เห็นว่าความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างป่าธรรมชาติ และป่าปลูกมีสูงกว่า (Fst=0.182) ซึ่งแสดงว่าป่าธรรมชาติมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงกว่าป่าปลูก ดั้งนั้นการอนุรักษ์ไม้ยางนาในถิ่นกำเนิดจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะไม้ยางนาที่มีความหลากหลายทาง พันธุกรรมสูง ที่น่าสังเกตคือเมื่อดูผลการศึกษาในครั้งแรกในหัวข้อ 6.1 นั้น จะมีความหลากหลายทาง พันธุกรรมสูงกว่าในการศึกษาในครั้งนี้ ที่ได้ทำการศึกษาใน 16 แหล่ง (ประชากร) ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าใน การศึกษาในครั้งแรก (หัวข้อ 6.1) นั้น ส่วนใหญ่ใช้ตัวอย่างใบอ่อนจากกล้าไม้ แต่การศึกษาในครั้งนี้ได้ใช้ใน ส่วนของตัวอย่างที่เป็น Embryo ดังนั้นทำให้ผลการศึกษามีความหลากหลายทางพันธุกรรม ในภาพรวมต่ำ กว่าการศึกษาในชุดแรก ซึ่งเป็นไปได้ว่า Embryo จากเมล็ดไม้ยางนาบางเมล็ดที่ศึกษาอาจมียีนด้อยอยู่ ซึ่ง เมื่อถ้านำมาเพาะเป็นกล้าไม้อาจจะไม่งอกก็เป็นไปได้ ดังนั้นจึงมีผลให้การศึกษาครั้งนี้ ได้ค่าของความ


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above