Page 86

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

66 หลากหลายทางพันธุกรรมต่ำกว่าตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแรกที่ตัวอย่างเป็นกล้าไม้ ซึ่งการที่เมล็ดสามารถ งอกเป็นต้นได้ย่อมมียีนที่หลากหลายเพียงพอให้เติบโตเป็นกล้าไม้ได้ ข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์ไม้ยางนา จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น จึงได้ข้อมูลเป็นแนวทางได้ว่าไม้ยางนาแต่ละแหล่ง (ประชากร) มี ความหลากหลายทางพันธุกรรมแตกต่างกัน แม้ลักษณะภายนอกของไม้ยางนาโดยทั่วไปไม่แตกต่างกันนัก โดยมีความสูงเปลาตรง หากดูเผินๆ แล้วคิดว่าแต่ละแหล่ง (ประชากร) ไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรให้ ความสำคัญแหล่งพันธุกรรมของไม้ยางนาในแต่ละภูมิภาคโดยควรจัดให้มีการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดทุกภูมิภาค และให้ความสำคัญในการอนุรักษ์แหล่งที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สูงและและมีความหลากหลาย ทางพันธุกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยของไม้ยางนา จาก 16 แหล่ง (ประชากร) ที่ทำการศึกษาทั้งหมด เช่น หมู่บ้าน ดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา และ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่มีความผันแปรในแต่ละ ตำแหน่งสูง เช่นเครื่องหมายดีเอ็นเอไมโครเซทเทลไลท์ (Microsattelite markers: SSR) ในอนาคตเพื่อจะ ได้ข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมมากขึ้น (Changtragoon, 2001b) ตารางที่ 6.2.1 แหล่งที่มาของตัวอย่างไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus) ชื่อแหล่ง ( Population name ) ที่มา: Changtragoon, 2001b ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ ( Longitude and Latitude ) ความสูงจาก ระดับน้ำทะเล ( Altitude ) 1. อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย 2. อ.ลอง จ.แพร่ 3. อ.สามเงา จ.ตาก 4. อ.โพทะเล จ.พิจิตร 5. อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม 6. วัดกู่พระโกนา ต.สระคู อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 7. หมู่บ้านดงฟ้าห่วน ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 8. พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 9. วัดจันทรังษี ต.หัวไผ่ อ.เมือง จ.อ่างทอง 10. ป่าเขาพระฤษี จ.กาญจนบุรี 11. ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี 12.ต.เกาะสำโรง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 13. อ.เมือง จ.ราชบุรี 14. อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ 15. อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 16. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา E 99° 42' 18" N 16° 52' 24" E 99° 50' N 18°3' E 99° 3' N 17° 20' 30" E 100° 36' N 16° 48' E 103° 2' N 16° 15' E 103° 50' 26" N 15° 34' E 104° 52' N 15° 14' E 101° 54' N 14° 27' 57" E 100° 18' N 14° 7' E 98° 47' N 14° 43' E 98° 34' N 14° 37' E 99° 31' N 13° 57' E 99° 48' N 13° 32' E 99° 33' N 11° 12' E 99° 16' N 9° 23' E 100° 26' 36'' N 7° 28' 200 100 120 26 144 141 113 224 6 100 100-200 30 56 90 8 5


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above