Page 88

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

68 บทที่ 7 การประเมินสถานภาพแหล่งพันธุกรรมของไม้โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) และโกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) ในประเทศไทยโดยการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีนเพื่อเป็นแนวทางใน การอนุรักษ์และการฟื้นฟูป่า คำนำ เนื่องจากผลของการบุกรุกทำลายป่าในอัตราที่สูงทั้งในอดีตและในปัจจุบันได้ส่งผลให้พื้นที่ป่าชาย เลนลดลงจากอดีตเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้มีการตื่นตัวทั้งภาครัฐและเอกชนได้เห็นความสำคัญ ของป่าไม้และได้ร่วมมือกันช่วยในการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนให้อยู่ในสภาพเดิมเพื่อรักษาความ หลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่าและสภาวะแวดล้อม ในการที่จะวางแผนการปลูกป่าไม้โกงกาง (Rhizophora sp.) ซึ่งต้องอาศัยกำลังทั้งงบประมาณ แรงงานและเวลาอย่างมาก จึงต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อให้ได้ผลที่คุ้มค่า และเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่วางไว้ ในที่นี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่า ซึ่งมี ความสำคัญมากต่อการช่วยประกอบการพิจารณาที่จะวางแผนการปลูกป่าให้บรรลุจุดประสงค์ ไม่ว่าจะเพื่อ การอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรม รักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม และการฟื้นฟูป่า เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม ซึ่งการที่จะเตรียมเมล็ดและกล้าไม้ และพื้นที่ที่จะปลูกต้องคำนึงถึงด้วยว่าเมล็ดและกล้าไม้ที่จะนำมาปลูกมา จากแหล่งไหน มีคุณภาพดีพอหรือไม่และจะสามารถมีชีวิตอยู่รอดภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผันแปรตลอดเวลา ได้หรือไม่ ตลอดจนจะให้ผลผลิตสูงตามคาดหวังไว้หรือไม่ เนื่องจากข้อมูลการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้โกงกางใบเล็ก และไม้โกงกาง ใบใหญ่มีอยู่น้อยมาก ดังนั้นสุจิตรา (2550) จึงได้ประเมินสถานภาพแหล่งพันธุกรรมของไม้โกงกางใบเล็กและ ไม้โกงกางใบใหญ่ในประเทศไทย โดยการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA markers) และไอโซเอนไซม์ยีน (Isoenzyme gene markers) เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาวางแผนอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมตลอดจน การปลูกและฟื้นฟูป่าของไม้โกงกางทั้งสองชนิดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งรายละเอียดในการศึกษา ดังกล่าวมีดังนี้ วัสดุและวิธีการศึกษาวิจัย สุจิตรา (2550) ได้เก็บใบของไม้โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) และไม้โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) 11- 40 ต้นต่อแหล่ง (Population) จาก 20 และ 16 แหล่ง (ประชากร) ดังแสดงในตาราง ที่ 7.1 และ ตารางที่ 7.2 ตามลำดับ ในบริเวณอ่าวไทยและชายฝั่งทะเลฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันของ ประเทศไทย


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above