Page 91

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

71 การวิเคราะห์ดีเอ็นเอโดยเทคนิคเอเอฟแอลพี (Amplified Fragment Length Polymorphism) นำสารละลายดีเอ็นเอที่สกัดได้มาวิเคราะห์โดยเทคนิคเอเอฟแอลพีตามวิธีของ Vos et al. (1995) และ แยกชิ้นดีเอ็นเอโดยใช้เครื่องแยกขนาดแบบ Non-denaturing polyacrylamide ด้วยเครื่อง Gel-scan 3000 (Corbett research, Australia) ที่ความเข้มข้นของโพลีอะคริลาไมด์ 6 เปอร์เซ็นต์ ใน 0.6 X TBE buffer ที่ผสมด้วยเอธิเดียมโบรไมด์ผ่านกระแสไฟฟ้า 800 โวลต์ นาน 60 นาที เปรียบเทียบกับดีเอ็นเอ มาตรฐานขนาด 50 bp แล้ววิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม โดยแปรผลข้อมูลจากแถบดีเอ็นเอที่ สามารถใช้แยกความแตกต่างของไม้โกงกางใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่แต่ละชนิดเปรียบเทียบจากความ เหมือนและความแตกต่างของรูปแบบของดีเอ็นเอที่เกิดขึ้น และคำนวณความหลากหลายทางพันธุกรรมโดย ใช้ TFPGA computer program (Miller, 1998) ส่วนค่าความเหมือนทางพันธุกรรมคำนวณด้วยวิธี Simple matching (Sneath and Sokal, 1973) นำมาเข้าสู่ตาราง Matrix โดยใช้ Nei and Li (1979) Similarity index เพื่อใช้ในการจัดกลุ่มศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมด้วยเทคนิค Unweigthed Pair Group Method of Arithmetic Average (UPGMA) (Sneath and Sokal, 1973) โดยใช้โปรแกรม NTSYS-pc version2.01e (Rohlf, 1993) และแสดงผลในรูปแบบของ Phylogenetic tree ระบบการสืบพันธุ์ (Mating system) การศึกษาระบบการสืบพันธุ์โดยนำใบอ่อนจากกล้าไม้ของไม้โกงกางใบเล็กที่ได้จากการเพาะแบบ แยกต้นที่เก็บฝักจากแต่ละแม่ไม้จำนวน 20 กล้าไม้ต่อแม่ไม้ วิเคราะห์ไอโซเอนไซม์ยีน ที่ยีนแต่ละตำแหน่ง และคำนวณทางสถิติเพื่อคำนวณหาอัตราผสมข้าม (Outcrossing rate) และอัตราผสมตัวเอง (Selfing) หรือ อัตราผสมระหว่างต้นที่มีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้ชิดกัน (Inbreeding rate) สำหรับไม้โกงกางใบใหญ่ได้เก็บฝักมาจากแต่ละแหล่งและเพาะกล้าไม้ไว้เช่นกัน แต่ไม่สามารถ วิเคราะห์ผลด้วยไอโซเอนไซม์ยีนได้ จึงไม่ได้วิเคราะห์อัตราผสมข้ามได้


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above