Page 92

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

72 ผลการศึกษาวิจัยและวิจารณ์ จากการวิเคราะห์เครื่องหมายดีเอ็นเอโดยใช้เทคนิค AFLP (Amplified Fragment Length Polymorphism) ดังแสดงในภาพที่ 7.1 และภาพที่ 7.2 ตามลำดับ ในการศึกษาความหลากหลายทาง พันธุกรรม สุจิตรา (2550) พบว่าไม้โกงกางใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม ค่อนข้างสูง กล่าวคือความหลากหลายทางพันธุกรรมในไม้โกงกางใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่มีค่าแต่ละ แหล่งแตกต่างกันไป โดยมีค่าเฉลี่ย 0.31 และ 0.38 ตามลำดับดังรายละเอียดในตารางที่ 7.3 และตารางที่ 7.4 ตามลำดับ และความแตกต่างระหว่างแหล่งของไม้โกงกางใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่มีค่า 0.25 (Theta P = 0.25) และ 0.21 (Theta P = 0.21) ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแหล่งที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม ต่ำในไม้โกงกางใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่เมื่อเทียบกับแหล่งอื่น คือ จากแหล่งอำเภอคลองพร้าว เกาะช้าง และหมู่บ้านแสมชัย จังหวัดเพชรบุรีตามลำดับ และแหล่งที่เหมาะสมต่อการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดคือแหล่งที่ มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง เช่น แหล่งอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ดังรายละเอียดในตารางที่ 7.3 และ ตารางที่ 7.4 ตามลำดับส่วนแหล่งที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำควรมีการฟื้นฟูฐานพันธุกรรมโดย ปลูกฟื้นฟูป่า โดยควรมีการคัดเลือกฝักจากต้นจากแหล่งเดียวกันที่มีอัตราผสมข้ามสูงโดยรวบรวมมาจาก หลากหลายต้นมาปลูก จากผลการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมข้างต้นแม้พบว่าทั้งไม้โกงกางใบเล็กและ ไม้โกงกางใบใหญ่ มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงแต่จากค่าความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของแต่ละ แหล่งของไม้โกงกางใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่ดังภาพที่ 7.3 และภาพที่ 7.4 ตามลำดับ จะเห็นว่ามีบาง แหล่งไม่สอดคล้องกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งอาจจะสันนิษฐานได้ว่าการปลูกป่าทดแทนจากการทำสัมปทาน ในอดีตอาจนำฝักไม้โกงกางจากแหล่ง (Population) อื่นที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิดเดิมของแต่ละแหล่งมาปลูก ปะปนกัน เป็นที่น่าสังเกตว่า ในไม้โกงกางใบเล็กมีความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยเฉลี่ยต่ำกว่าไม้โกงกาง ใบใหญ่ เนื่องจากผลของการบุกรุกทำลายป่าและทำให้ป่าเสื่อมโทรมโดยการจัดทำโรงแรมและรีสอร์ทใน บริเวณอำเภอคลองพร้าว เกาะช้าง จังหวัดตราด เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณ หมู่บ้านสลักคอก เกาะช้าง จังหวัดตราด ซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์ของเกาะดังกล่าว โดยจากผลการศึกษาพบว่ามีการลดลงของความ หลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic erosion) อย่างเด่นชัด กล่าวคือบริเวณอำเภอคลองพร้าว เกาะช้าง จังหวัดตราด มีความหลากหลายทางพันธุกรรม (He) = 0.150 ในขณะที่พื้นที่ป่าชายเลน หมู่บ้านสลักคอก เกาะช้าง จังหวัดตราด มีความหลากหลายทางพันธุกรรม (He) = 0.318 ซึ่งมีความแตกต่างกันถึง 1 เท่าตัว จึงแสดงให้เห็นว่าผลของการบุกรุกทำลายป่าทำให้ป่าเสื่อมโทรมมีผลต่อความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่ง ในกรณีของเกาะช้างพบว่าลดลงถึง 1 เท่าตัว ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการในการป้องกันปัญหาดังกล่าวในอนาคต อย่างเป็นรูปธรรม (สุจิตรา, 2550) ส่วนการศึกษาระบบการสืบพันธุ์ในไม้โกงกางใบเล็กใน 3 แหล่ง พบว่ามีอัตราผสมข้ามแตกต่าง กันไป กล่าวคือที่เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ มีอัตราผสมข้ามต่ำที่สุดคือมีค่า 0.24 (24 เปอร์เซ็นต์) แสดงว่า มีอัตราผสมตัวเองหรือในหมู่เครือญาติ 76 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอัตราผสมข้ามของไม้โกงกางใบเล็กจากอำเภอขลุง


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above