Page 93

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

73 จังหวัดจันทบุรีและอำเภอกันตัง จังหวัดตรังมีค่าสูงถึง 1.00 (100 เปอร์เซ็นต์) และ 0.97 (97 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ รายละเอียดตามตารางที่ 7.5 ซึ่งจะเห็นว่า อัตราการผสมข้ามของแหล่งที่มีการบุกรุกทำลายสูง และมีจำนวนต้นอยู่น้อยกว่า เช่น ในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ส่งผลให้มีอัตราผสมตัวเองและในหมู่ เครือญาติสูง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการอยู่รอดของไม้โกงกางใบเล็กของกรุงเทพฯ ในอนาคต ส่วนกล้า ไม้โกงกางใบเล็กจากอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เหมาะสมต่อการนำไปปลูก ฟื้นฟูป่า เพราะมีอัตราผสมข้ามสูงทำให้มีโอกาสอยู่รอดและเจริญเติบโตตลอดจนสามารถปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมที่ผันแปรในอนาคตได้ดีกว่าจากแหล่งเขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตามแม้แต่ต้นไม้แหล่งเดียวกันอัตราการผสมข้ามของไม้โกงกางใบเล็ก แต่ละต้นก็ไม่เท่ากัน ดังตัวอย่างอัตราการผสมข้ามของไม้โกงกางใบเล็กบางต้นของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มีค่าอัตราผสมข้าม ตั้งแต่ 0.27 (27 เปอร์เซ็นต์) จนถึง 1.0 (100 เปอร์เซ็นต์) ดังแสดงในตารางที่ 7.6 ดังนั้นสามารถคัดเลือกแหล่งเพาะกล้าไม้ของไม้โกงกางใบเล็กได้ว่าจะเก็บเลือกได้ที่ไหนและต้นใด โดยประเมินอัตราผสมข้ามในระยะกล้าไม้ก่อนการนำไปปลูกป่า โดยเลือกจากแหล่งและต้นที่มีอัตราผสม ข้ามสูง เพื่อให้มั่นใจว่าต้นไม้จะรอดตายและเจริญเติบโตได้ดีและมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อมที่ผันแปรในอนาคตได้ (Changtragoon, 2001a; Changtragoon, 2005; Changtragoon and Szmidt, 1993). แม้ว่าไม้โกงกางใบใหญ่ไม่สามารถวิเคราะห์ไอโซเอนไซม์ยีนได้ เนื่องมาจากสารบางอย่างที่ใบของ ไม้โกงกางใบใหญ่ ทำให้ Enzyme ไม่ทำปฏิกิริยากับ Substrate อย่างไรก็ตามการศึกษาลักษณะฝักและ กล้าไม้ที่เพาะ ทำให้เห็นว่าไม้โกงกางใบใหญ่มีการผสมกันเองในหมู่เครือญาติซึ่งทำให้เกิดลักษณะด้อย ดังแสดงในภาพ 7.5 (สุจิตรา, 2550)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above