Page 28

รายงานผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

ภาพที่ 2.15 ต้นโกงกางลูกผสม 2.5.20 การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ในอดีตชายฝั่งบริเวณค่ายพระรามหก ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง จึงได้มีการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งเรื่องการตกตะกอนทับถมบริเวณปากคลองบาง ตราน้อยและบางตราใหญ่ และการกัดเซาะชายฝั่งทะเลรวมระยะทาง 3 กิโลเมตร ได้มีการ สร้างแนวป้องกันเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ เขื่อนกันทรายและคลื่น (Jetty) ก าแพงป้องกันคลื่น ริมชายหาด (Sea wall) เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore breakwater) เขื่อนป้องกันคลื่น นอกชายฝั่งแบบจมน้ า (Submerged offshore breakwater) รอดักทราย (Groin) การถมทราย เสริมชายหาดหรือการบูรณะชายหาดด้วยการเสริมทราย (Beach nourishment) ก าแพงหินทิ้ง (Revetment) นอกจากนี้ยังมีปะการังเทียม (Artificial reef) ซึ่งเป็นรูปโดม ที่ใช้ขี้เถ้าลอยลิกไนส์ (Lignite fly ash) ผสมกับซีเมนต์วางเรียงขนานกับชายฝั่ง ป้องกันการกัดเซาะอย่างได้ผลอีก ด้วย ภาพที่ 2.16 การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง


รายงานผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above