2.5.18 สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม ป่าชายเลนในเขตพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ตั้งอยู่บริเวณปากคลอง บางตราน้อยและปากคลองบางตราใหญ่ เดิมบริเวณนี้มีสภาพป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ ไม้ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิด แต่ได้มีการบุกรุก ท าลายและมีตะกอนดินทรายทับถมจนหมดสภาพ จากการพลิกฟื้นคืนสภาพป่าชายเลนตาม แนวพระราชด าริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ.2537 ท าให้ ปัจจุบันกลับฟื้นคืนสภาพความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลน หลากหลายชนิด ได้แก่ แสมทะเล โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โปรงแดง โปรงขาว พังกาหัว สุ่มดอกแดง ฝาดแดง ฝาดขาว ตะบูนด า ตะบูนขาว ตาตุ่มทะเล ฯลฯ เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ า วัยอ่อน และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะนกนานาชนิด ทั้งนกประจ าถิ่นและนก อพยพ กลายเป็นห้องเรียนธรรมชาติ ส าหรับศึกษาระบบนิเวศและความหลากหลายทาง ชีวภาพของป่าชายเลนที่ส าคัญอีกแห่งหนึ่ง อันจะช่วยปลุกจิตส านึกให้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ อันมหาศาลของป่าชายเลน ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ ภาพที่ 2.14 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ 2.5.19 โกงกางลูกผสม : หน่งึ เดียวในสยาม ในส่วนป่าชายเลนทูลกระหม่อม ยังมีโกงกางลูกผสมระหว่างโกงกางใบใหญ่และ โกงกางใบเล็กต้นแรกของประเทศไทย พบโดยดร.สนใจ หะวานนท์ และตรวจ DNA โดยดร.สุจิ ตรา จางตระกูล รูปร่างล าต้นและเรือนรากสูงใหญ่และแข็งแรงกว่าต้นอื่นที่อยู่ข้างเคียง น าไปสู่ การเรียนรู้การปรับตัวของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนให้เข้ากับสภาวะความแห้งแล้งและวิกฤติการโลก ร้อน และการวิวัฒนาการของป่าชายเลนอันยาวนาน
รายงานผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above