Page 10

แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

6 (2) ประเมินความต้องการใช้น้ำ โดยพิจารณาจากปริมาณการใช้น้ำเพื่อการ อุปโภคบริโภค และจำนวนประชากร เพื่อเปรียบเทียบกับศักยภาพการให้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งคาดการณ์ สถานการณ์ด้านปริมาณน้ำในอนาคตในช่วงเดียวกับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (3) เก็บตัวอย่างน้ำเพื่อศึกษาคุณภาพน้ำตามอ่างเก็บน้ำทั้ง 7 อ่าง (ระบบอ่างพวง) ภายในพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม ห้วยไม้ตาย ทุ่งขาม ห้วยตะแปด ห้วยทราย ห้วย ทราย-หุบกะพง และบ่อพักน้ำเขากระปุก ตลอดจนบริเวณลำน้ำก่อนไหลลงอ่าง และบริเวณลำน้ำท้ายอ่างเก็บ น้ำแต่ละอ่าง และแหล่งน้ำธรรมชาติอื่น ๆ ในพื้นที่โครงการ (หากมีปริมาณน้ำเพียงพอ) จำนวน 2 ครั้ง เป็น ตัวแทนคุณภาพน้ำในช่วงฤดูแล้ง (เมษายน 2558) และช่วงฤดูฝน (สิงหาคม 2558) โดยมีดัชนีคุณภาพน้ำที่ ทำการศึกษา อ้างอิงตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน โดยกำหนดทั้งหมด 16 ดัชนี ได้แก่ อุณหภูมิ ความ โปร่งแสง ความขุ่น ความนำไฟฟ้า ความเค็ม ออกซิเจนละลายน้ำ ความเป็นกรด-ด่าง ค่าความสกปรกในรูปบี โอดี ปริมาณของแข็งแขวนลอย ปริมาณของแข็งละลายน้ำ ความกระด้างทั้งหมด ไขมันและน้ำมัน ไนเตรต ฟอสเฟต โคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 2.5 สรุปผลการวิจัย 2.5.1 สภาพพื้นที่โดยทั่วไป การกำหนดขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ได้แก่ ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วย ทราย ซึ่งพื้นที่ทางตอนเหนือเป็นพื้นที่ภูเขาประกอบด้วยด้วยแนวเขาช่องม่วง เขาหุบสบู่ เขาหุบเจดีย์ เขาพระ รอกหนอกวัว และภูเขาเล็ก ๆ ด้านทิศใต้ติดกับเขาสามพระยา ตอนกลางของพื้นที่โครงการฯ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม สลับเนินเขา และด้านตะวันออกของพื้นที่โครงการฯ เป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล มีความสูงระหว่าง 10-650 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันต่ำ ลักษณะภูมิอากาศ จากข้อมูลของสถานีตรวจอากาศที่อยู่โดยรอบพื้นที่ศึกษา พบว่า มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 970 มิลลิเมตรต่อปี และมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 25-29 องศาเซลเซียส ส่วน การพิจารณาช่วงน้ำหลาก และช่วงแล้งฝน (Wet and dry period) พบว่า ช่วงน้ำหลาก อยู่ระหว่างเดือน เมษายนถึงพฤศจิกายน ส่วนช่วงแล้งฝน อยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมีนาคม และจากการสอบถามประชาชน ในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูลว่า ประสบกับปัญหาฝนตกน้อยมากติดต่อกันหลายปี จนเกิดสภาพแห้งแล้ง และขาด แคลนน้ำอย่างรุนแรงในบางพื้นที่ ลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่ศึกษา ลุ่มน้ำบางตราน้อย ประกอบด้วยหินแกรนิต หินดินดาน หินตะกอนเชิงเขา และหินตะกอนชายฝั่ง ส่วนลุ่มน้ำห้วยทราย ประกอบด้วยหินแกรนิต หิน ตะกอนเชิงเขา และหินตะกอนชายฝั่ง ดิน ในพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาประกอบด้วย 6 ชุดดิน ได้แก่ ดินในพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (SC; Slope complex) ชุดดินหนองแก (Nk) ชุดดินหุบกะพง (Hg) ชุดดินชลบุรี(Cb) ชุดดินสมุทรปราการ (Sm) และชุดดินวัฒนา (Wa) ผลการวิเคราะห์ตัวอย่าง พบว่า เนื้อดินส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มดินทราย ซึ่งมีทั้งดิน ทราย (Sand) ดินทรายร่วน (Loamy sand) และดินร่วนปนทราย (Sandy loam) ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ใน ระดับต่ำมากถึงปานกลาง (0.41-2.11 เปอร์เซ็นต์) ธาตุอาหารต่าง ๆ ได้แก่ ฟอสฟอรัส อยู่ในระดับต่ำถึงปาน กลาง โพแทสเซียม ระดับต่ำมากถึงสูงมาก แคลเซียม ระดับต่ำถึงสูง และแมกนีเซียม ระดับต่ำถึงสูง มีความ เป็นกรด-ด่าง (pH) ในระดับกรดรุนแรงถึงด่างอ่อน มีความเค็มต่ำ และมีปริมาณไนโตรเจนที่พืชต้องการใช้ ประโยชน์ต่ำ


แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above