Page 11

แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

7 และเมื่อศึกษาสมบัติของดินด้านอุทกวิทยา พบว่า ดินมีอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดิน คงที่ค่อนข้างสูง ระดับปานกลางถึงเร็วมาก แต่ความชื้นดินค่อนข้างต่ำ รวมทั้งเมื่อทำการประเมินอัตราการ สูญเสียดินจากพื้นที่ลุ่มน้ำ พบว่า มีอัตราการสูญเสียดินของลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย 3.246 และ 1.182 ตันต่อไร่ต่อปี อยู่ในระดับการสูญเสียดินปานกลาง และน้อย ตามลำดับ แหล่งน้ำในบริเวณลุ่มน้ำศึกษา ประกอบด้วยลำน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น โดยแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ คลองบางตราน้อย และห้วยทราย ส่วนแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วย ทราย บ่อพักน้ำเขากระปุก อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด และบ่อน้ำในพื้นที่อุทยานฯ สิรินธร สำหรับประเด็นปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำในบริเวณพื้นที่ศึกษา พบว่า แหล่งน้ำมีสภาพที่ตื้นเขิน บางพื้นที่แหล่งน้ำถูกถมจนไม่ เห็นสภาพลำน้ำเดิม รวมทั้งมีการปิดกั้น และกีดขวางทางน้ำ ซึ่งจากสภาพที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ความสามารถในการ เก็บกัก และระบายน้ำของแหล่งน้ำเสื่อมโทรมลง เกิดปัญหาของการขาดแคลนน้ำ และอาจเกิดสภาพของน้ำ ท่วม หรือน้ำไหลบ่าในกรณีที่เกิดฝนตกหนักได้ ส่วนการศึกษาด้านสภาพทางเศรษฐกิจ และสังคม ของประชากรตัวอย่างในบริเวณ พื้นที่ศึกษา ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด 10 หมู่บ้าน 2,202 ครัวเรือน ซึ่งทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม จำนวนทั้งหมด 96 ตัวอย่าง โดยข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคม ของทั้งพื้นที่ศึกษา พบว่า สภาพ ปัญหาของพื้นที่ที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ และการจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาการมี ส่วนร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยังมีส่วนร่วมน้อย 2.5.2 การใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาเปรียบเทียบระหว่างปีพ.ศ. 2552 และ 2558 พบว่า ทั้งสองพื้นที่มีการใช้ที่ดินที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม (พืชไร่ พืชสวน และปศุสัตว์) มากกว่าการใช้ที่ดินรูปแบบอื่น ๆ แต่ก็มีสัดส่วนใกล้เคียงกับพื้นที่ป่าไม้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลง พบว่า พื้นที่เกษตรกรรม และป่าไม้ มีแนวโน้มลดลง ส่วนพื้นที่ชุมชน และเมือง มีพื้นที่ เพิ่มขึ้น 2.5.3 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะอากาศ พบว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยระหว่าง 900-1,100 มิลลิเมตรต่อปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 25-29 องศาเซลเซียส และเมื่อรวบรวมข้อมูลภูมิอากาศย้อนหลังเพื่อ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณฝนตั้งแต่ปีพ.ศ.2004-2013 พบว่า แนวโน้มปริมาณน้ำฝนลดลง รวมทั้ง จำนวนวันที่ฝนตกก็มีแนวโน้มลดลง ส่วนการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้แบบจำลอง ภูมิอากาศโลก (Global Climate Models) หรือแบบจำลองหมุนเวียนทั่วไป (General Circulation Models; GCMs) ทั้งนี้ ข้อมูลสำหรับพิจารณาเป็นข้อมูลในช่วงอดีต หรือปีฐาน ในช่วงค.ศ.1970-2005 (พ.ศ.2513- 2548) และพยากรณ์ข้อมูลในปีอนาคต หรือการคาดประมาณ ในช่วงค.ศ.2006-2040 (พ.ศ.2549-2583) ซึ่ง ผลการศึกษาจากงานวิจัย พบว่า การเปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิเฉลี่ย และปริมาณน้ำฝน มีการเปลี่ยนแปลงไป จากข้อมูลในปีฐาน โดยปริมาณน้ำฝนมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะมีค่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่า 800 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ย มีค่าสูงขึ้นโดยมีค่าสูงกว่าปีฐาน ประมาณ 0.82 องศาเซลเซียส 2.5.4 ทรัพยากรป่าไม้ ข้อมูลการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย ซึ่ง ครอบคลุมพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง จำแนกระบบนิเวศป่าไม้ออกเป็น 4 ระบบ ประกอบด้วย ระบบนิเวศป่าไม้(ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) ระบบนิเวศป่าฟื้นฟู ป่ารุ่นสอง สวนป่า ป่าปลูก ระบบนิเวศป่าชายหาด และระบบนิเวศป่าชายเลน ซึ่งผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบกับรายงานการ


แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above