Page 9

แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

5 2.4 ขอบเขตการวิจัย 2.4.1 ขอบเขตพื้นที่วิจัย การกำหนดขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ได้แก่ ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วย ทราย รวมพื้นที่ 83.61 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 52,000 ไร่) โดยลุ่มน้ำบางตราน้อยมีพื้นที่ 64.10 ตาราง กิโลเมตร (ประมาณ 40,000 ไร่) และลุ่มน้ำห้วยทรายมีพื้นที่ 19.51 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 12,000 ไร่) 2.4.2 วิธีการศึกษา 1) การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการแปลผลข้อมูลจาก ฐานข้อมูลกรมพัฒนาที่ดินเปรียบเทียบระหว่างปีพ.ศ. 2552 และ 2558 โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงการใช้ ที่ดินในแต่ละพื้นที่ลุ่มน้ำ 2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะอากาศจากสถานีตรวจอากาศที่อยู่โดยรอบ พื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา โดยเป็นข้อมูลระยะเวลานาน (Normal data) เพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศ ในภาพรวมของทั้งพื้นที่ และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองเพื่อพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศในอนาคตเปรียบเทียบกับข้อมูลของปีฐาน 3) การสำรวจทรัพยากรป่าไม้ วางแปลงสำรวจแบบแปลงชั่วคราว (Temporary plot) ให้กระจาย ครอบคลุมพื้นที่ป่าในพื้นที่ศึกษา และกระจายครอบคลุมตามชนิดป่า หรือสภาพสังคมพืชให้มากที่สุด โดย สำรวจไม่น้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่า รวมทั้งวางแปลงตัวอย่างแบบถาวร (Permanent plot) ตาม สภาพสังคมพืชที่ปรากฏในพื้นที่ศึกษา เพื่อเป็นตัวแทนของระบบนิเวศในบริเวณพื้นที่ศึกษา และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งประกอบด้วยสังคมป่าผสมผลัดใบ (ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) ป่าฟื้นฟู ป่าปลูก หรือป่ารุ่นสอง ป่า ชายหาด และป่าชายเลน ทั้งนี้ การสำรวจ 3 ครั้ง ในช่วงเดือนเมษายน 2558 เดือนสิงหาคม 2558 และเดือน มกราคม 2559 ได้วางแปลงสำรวจแบบชั่วคราวรวมทั้งหมด 235 แปลง และแปลงสำรวจแบบถาวรรวม 15 แปลง และวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางนิเวศวิทยาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สภาพสังคมพืช ความหลากหลายชนิด ความหนาแน่น และปริมาตรของหมู่ไม้ การปกคลุมของเรือนยอด โครงสร้างด้านตั้งของสังคมพืช รวมทั้งการ วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อสังคมพืช 4) ทรัพยากรสัตว์ป่า การสำรวจทรัพยากรสัตว์ป่าในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาโดยวิธีการสำรวจทั้ง ทางตรงจากการพบเห็นตัว และร่องรอยต่าง ๆ และการสำรวจโดยการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ และประชาชนที่ อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ศึกษา ทำการสำรวจสัตว์ป่า 4 กลุ่ม ประกอบด้วยนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทิน น้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน โดยทำการสำรวจในช่วงเวลาเดียวกับการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ 5) ทรัพยากรน้ำ (1) ข้อมูลศักยภาพการให้น้ำของทั้งสองพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา วิเคราะห์ศักยภาพ การให้น้ำ สัดส่วนของน้ำท่าต่อปริมาณน้ำฝน และสัดส่วนของปริมาณน้ำท่าในช่วงฤดูแล้งต่อฤดูฝน และศึกษา ปริมาณน้ำที่เก็บกักในรอบปีของอ่างเก็บน้ำจากข้อมูลที่รวบรวมโดยกรมชลประทานระหว่าง ปีพ.ศ.2552- 2558 ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำห้วยทราย บ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด


แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above