8 สำรวจที่ดำเนินการโดยคณะวนศาสตร์ ช่วงปีพ.ศ. 2550-2551 โดยสำรวจในพื้นที่อุทยานฯ สิรินธร และพื้นที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพื้นที่ใกล้เคียง พบว่า สภาพสังคมพืช และ พรรณพืชมีลักษณะ และชนิดไม่แตกต่างจากการสำรวจครั้งที่แล้ว โดยพื้นที่ป่าธรรมชาติพบบริเวณตอนบนของ พื้นที่ลุ่มน้ำ สภาพพื้นที่เป็นภูเขา ส่วนบริเวณที่เนิน และที่ราบลุ่ม เป็นพื้นที่ของป่ารุ่นสอง ป่าชายหาด และป่า ชายเลนที่พบในพื้นที่อุทยานฯ สิรินธร สำหรับข้อมูลความหลากหลายของพรรณพืชในแต่ละพื้นที่สำหรับการ สำรวจในครั้งนี้ ซึ่งเน้นพิจารณาในกลุ่มของพืชใบเลี้ยงคู่ พบไม่น้อยกว่า 100 ชนิด ทั้งที่เป็นไม่ใหญ่ยืนต้น ลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม กล้าไม้ รวมทั้งไม้อื่น ๆ ทั้งไผ่ ปรง รวมทั้งวัชพืชต่าง ๆ ทั้งนี้ ข้อมูลด้านความหลากหลาย ของพรรณพืชที่ทำการสำรวจในพื้นที่ต่าง ๆ จากการสำรวจก่อนหน้านี้ มีรายงานการสำรวจพบพืชดอก 24 วงศ์48 สกุล 53 ชนิด ในสังคมพืชป่าชายเลน พบพืชดอก 36 วงศ์92 สกุล 99 ชนิด ในพื้นที่ป่าชายหาด และ พบพืชดอก 19 วงศ์35 สกุล 38 ชนิด ในพื้นที่ป่าปลูกของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ซึ่งเปรียบเทียบกับ การสำรวจในครั้งนี้ ซึ่งพบชนิดไม้รวม 134 ชนิด 60 วงศ์ ซึ่งชนิดไม้ไม่แตกต่างจากการสำรวจครั้งที่แล้ว นอกจากนั้น ในการสำรวจครั้งนี้ ได้วิเคราะห์ค่าความหนาแน่น และปริมาตรไม้เฉลี่ย ของแต่ละสังคมพืชในพื้นที่สำรวจด้วยวิธีการสำรวจแจงนับทรัพยากรป่าไม้(Forest inventory) รวมทั้งได้ทำ การวางแปลงตัวอย่างถาวรจำนวน 15 แปลง เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของแต่ละสังคมพืช โดยผลการ วิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีความหนาแน่นของไม้ใหญ่ยืนต้นของป่าบกระหว่าง 41-59 ต้นต่อไร่ ส่วนป่าชายเลน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 765 ต้นต่อไร่ ส่วนปริมาตรไม้เฉลี่ยของป่าบกระหว่าง 5.95-6.31 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ส่วนของป่าชายเลนมีปริมาตรไม้เฉลี่ย 12.77 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ส่วนสภาพปัญหาของทรัพยากรป่าไม้ พบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำศึกษามีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ราบ การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่จึงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ชุมชน ส่วนพื้นที่ป่าพบใน บริเวณที่เป็นพื้นที่เนิน และพื้นที่ภูเขา โดยมีสภาพเป็นป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ สำหรับสภาพปัญหาของ ทรัพยากรป่าไม้ นอกจากการบุกรุกพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าของ หน่วยงานราชการแล้ว ไฟป่าเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบโดยตรงต่อพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งพบว่า หลายพื้นที่ได้เกิดไฟ ไหม้อย่างรุนแรง ทำให้ไม้ขนาดเล็กถูกไฟไหม้จนหมด นอกจากนั้น จากสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อน มีปริมาณ ฝนตกน้อย เป็นสาเหตุที่ทำให้ปัญหาไฟป่ามีความรุนแรงมาก และทำให้การเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่า ค่อนข้างช้า 2.5.5 ทรัพยากรสัตว์ป่า การสำรวจทรัพยากรสัตว์ป่าในบริเวณพื้นที่วิจัย และพื้นที่ใกล้เคียง สำรวจสัตว์ป่าใน 4 กลุ่ม ประกอบด้วยนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน ผลการสำรวจ ในช่วงเดือนเมษายน และสิงหาคม 2558 พบสัตว์ป่ารวมทั้งหมด 96 ชนิด 59 วงศ์ 25 อันดับ โดย ประกอบด้วยนก 65 ชนิด 37 วงศ์ 15 อันดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 10 ชนิด 9 วงศ์ 6 อันดับ สัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบก 6 ชนิด 4 วงศ์1 อันดับ และสัตว์เลื้อยคลาน 15 ชนิด 9 วงศ์3 อันดับ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจที่ดำเนินการโดยคณะวนศาสตร์ ช่วงปีพ.ศ.2550- 51 โดยสำรวจในพื้นที่อุทยานฯ สิรินธร และพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 11 ชนิด 7 วงศ์4 อันดับ นก (ช่วงฤดูหนาว) รวม 103 ชนิด 34 วงศ์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 11 ชนิด 4 วงศ์ 1 อันดับ และสัตว์เลื้อยคลาน 16 ชนิด 8 วงศ์ 2 อันดับ ซึ่ง พบว่า ในช่วงการสำรวจครั้งนี้ ชนิดของสัตว์ป่ามีจำนวนลดลง แต่ส่วนใหญ่ชนิดของสัตว์ป่าก็ไม่แตกต่างจาก เดิม โดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าขนาดเล็ก สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในทุกระบบนิเวศเนื่องจากมีความสามารถใน การปรับตัวต่อสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ส่วนการพิจารณาความชุกชุมของสัตว์ป่าสำหรับการ
แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above