9 สำรวจในครั้งนี้ พบว่า สัตว์ป่าส่วนใหญ่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป พบสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์หายาก หรือมีสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ หรือใกล้ถูกคุกคามน้อยมาก 2.5.6 ทรัพยากรน้ำ 1) ศักยภาพการให้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำ การประเมินด้านการให้น้ำของระบบนิเวศลุ่มน้ำ พบว่า ลุ่มน้ำบางตราน้อย มีปริมาณน้ำท่ารายปี9.69 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นความสูง 153.93 มิลลิเมตร และคิดเป็น 16.35 เปอร์เซ็นต์ของ ปริมาณน้ำฝน ส่วนลุ่มน้ำห้วยทราย ปริมาณน้ำท่ารายปี2.63 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นความสูง 134.80 มิลลิเมตร โดยคิดเป็น 14.32 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำฝน 2) การประเมินความต้องการใช้น้ำ การประเมินความต้องการใช้น้ำสำหรับประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย พิจารณาจากข้อมูลศักยภาพการให้น้ำของลุ่มน้ำ ปริมาณความต้องการใช้น้ำเฉลี่ยต่อคน และจำนวนประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งจากการประเมินจากข้อมูลปัจจุบัน (ปีพ.ศ.2558) พบว่า มีประชากรใน ลุ่มน้ำบางตราน้อย 1,432 ครัวเรือน 8,592 คน ลุ่มน้ำห้วยทราย 770 ครัวเรือน 4,620 คน ปริมาณความ ต้องการน้ำของประชากรในลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย เท่ากับ 11.07 และ 5.95 ล้านลูกบาศก์ เมตรต่อปีแต่ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำบางตราน้อยเฉลี่ยเพียง 9.69 ล้านลูกบาศก์เมตร และลุ่มน้ำห้วยทราย 2.64 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงประชากรในอนาคต เพื่อคำนวณปริมาณความ ต้องการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย เปรียบเทียบกับศักยภาพการให้น้ำของลุ่มน้ำ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งจาก ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงประชากรในอนาคต โดยใช้ข้อมูลอัตราการเพิ่มของประชากรในปีฐาน (พ.ศ. 2553) ซึ่ง มีอัตราร้อยละ 0.6 ต่อปี(http://www.biology.ipst.ac.th) คำนวณจากประชากรในปีปัจจุบัน (พ.ศ. 2558) เพื่อคาดการณ์จำนวนประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำในปีพ.ศ. 2563, 2573 และ 2583 ซึ่งจากการคำนวณ พบว่า ประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อยจะเพิ่มขึ้นเป็น 11,498, 20,591 และ 36,876 คน ส่วนประชากรในพื้นที่ ลุ่มน้ำห้วยทรายจะเพิ่มขึ้นเป็น 6,183, 11,072 และ 19,828 คน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับศักยภาพ การให้น้ำของลุ่มน้ำเพื่อคำนวณปริมาณความต้องการน้ำ โดยคิดคำนวณจากประชากรที่เพิ่มขึ้นในแต่ละ ช่วงเวลา พบว่า ความต้องการน้ำของทั้งประชาชนในทั้งสองลุ่มน้ำในปีพ.ศ. 2583 เพิ่มขึ้นเป็น 47.50 และ 25.54 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 5 และ 9 เท่าของศักยภาพการให้น้ำของลุ่มน้ำ และผลจากการ จำลองการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน ปี พ.ศ. 2549-2573 ปรากฏว่ามีน้ำฝนเฉลี่ยเพียง 611.78 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิสูงขึ้น 0.82 องศาเซลเซียส ทำให้ปริมาณน้ำท่าลดลงจากเดิมถึง 34 % ทำให้ปัญหา การขาดแคลนน้ำทวีความรุนแรงขึ้นด้วย 3) การเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษามีอ่างเก็บน้ำซึ่งอยู่ในระบบอ่างพวง ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด บ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย โดยลุ่มน้ำบางตราน้อยมีอ่างเก็บน้ำ 2 อ่าง ได้แก่ บ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด ส่วนลุ่มน้ำห้วยทรายมีอ่างเก็บน้ำห้วยทราย ผล จากการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ทั้งสามอ่างเก็บน้ำ มีลักษณะของการเก็บกักน้ำเหมือนกัน โดย ช่วงเดือนที่มีปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำมากอยู่ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ของปี ซึ่ง ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงปลายฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติลดน้อยลง และเป็นช่วงที่มีกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การทำเกษตรกรรม และการใช้น้ำในครัวเรือน จึงมีการส่งน้ำลงมาเก็บในอ่างเก็บน้ำ
แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above