Page 18

แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

14 มนุษย์ อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาปัจจัยของที่ดินที่สามารถรองรับการพัฒนา (Land capability and land suitability) ควบคู่ไปด้วย (2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ พิจารณาในหลากหลาย ด้านทั้งเป็นผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน และการปลดปล่อยก๊าซต่าง ๆ ออก ไปสู่บรรยากาศที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ทั้งนี้ ผลการวิจัยหลายเรื่องได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อดิน น้ำ พืชพรรณ และความหลากหลาย ความมั่นคงทางด้านน้ำ พลังงานและอาหาร รวมถึงลักษณะ ทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษานี้ ประเด็นการเปลี่ยนแปลงด้าน ภูมิอากาศเป็นอีกประเด็นที่มีความสำคัญ ซึ่งจากการคาดการณ์ว่า ปริมาณฝนที่จะตกน้อยลง และอุณหภูมิของ อากาศที่สูงขึ้น ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรต่าง ๆ ในลุ่มน้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นอีก ปัจจัยที่ควบคุมทั้งโครงสร้าง และการทำหน้าที่ของระบบนิเวศลุ่มน้ำ (3) ลักษณะทางเศรษฐกิจ และสังคม การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร และลักษณะทางเศรษฐกิจ เป็น ปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพต่าง ๆ ภายในระบบลุ่มน้ำ โดยเฉพาะลักษณะทางเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัย เร่ง หรือกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรต่าง ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนพื้นที่ หรือรูปแบบการทำ การเกษตร เพื่อผลผลิต และรายได้ที่มากขึ้น การขยาย/การพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับภาคการท่องเที่ยว และ บริการ เป็นต้น ดังนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และหน้าที่ภายในระบบนิเวศ ลุ่มน้ำ 2.7 ข้อเสนอแนะในการจัดการพื้นที่แบบบูรณาการ การสำรวจทรัพยากรลุ่มน้ำในบริเวณพื้นที่ศึกษาลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย ภายใต้โครงการวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรน้ำ รวมทั้งสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัจจุบันในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ซึ่งจากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อพิจารณาสภาพ ของแต่ละทรัพยากร ความเกี่ยวเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเศรษฐกิจ และสังคม และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทราบถึง สภาพ และความต่อเนื่องของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้เสนอแนะแนวทางทั้งในด้านการบริหารจัดการ การ ปฏิบัติงานของหน่วยงาน รวมทั้งแนวทางเพื่อการวิจัยที่จะอธิบายสภาพการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ซึ่งแนวทางการบูรณาเพื่อการจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำซึ่งรวบรวมจากการประชุมระดมความคิดเห็นของ ผู้เกี่ยวข้อง มีแนวทางซึ่งสรุปได้ ดังนี้ 2.7.1 การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ สภาพปัญหาของทรัพยากรป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ศึกษา ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งมี สาเหตุจากการบุกรุกพื้นที่ป่า การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม และปัญหาจากไฟป่า ดังนั้น จึงมี ข้อเสนอแนะสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ ดังนี้ 1) การวางแผนการใช้ที่ดิน และกำหนดมาตรการการใช้ที่ดิน สภาพป่าในพื้นที่ศึกษาลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย ซึ่งทางตอนเหนือของพื้นที่เป็นแนวเขาช่องม่วง เขาหุบสบู่ เขาหุบเจดีย์ เขาพระรอกหนอกวัว และภูเขาเล็ก ๆ โดยเป็นเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติชะอำ-บ้าน


แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above